รู้ไหมแบรนด์แบ่งเป็นกี่ประเภท ?

การแบ่งประเภทแบรนด์ตามประเภทธุรกิจ

1. Corporate Brand คือ แบรนด์องค์กรหรือแบรนด์บริษัท ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีความสำคัญมากที่สุดเพราะเป็นแบรนด์ที่เกิดจากมูลค่าของ Brand portfolio ทั้งหมดมารวมเป็นมูลค่าของแบรนด์องค์กร เนื่องจากแบรนด์องค์กรเกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารคนภายในองค์กรโดยตรง 

ดังนั้นการสร้างแบรนด์องค์กรนั้นมักจะมองเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์ภายใน (Internal brand) และการแบรนด์ภายนอก (External brand) ซึ่งไม่ใช่แค่ภาพลักษณ์แน่นอนแต่ต้องมองลึกลงไปถึง วิธีการสร้าง Core value และ Corporate culture ที่เชื่อมโยงกับการสร้างแบรนด์ไปสู่ภายนอก

2. Product Brand คือ แบรนด์สินค้าที่เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคซื้อโดยตรง ซึ่งบางครั้งแบรนด์สินค้าอาจจะเป็นชื่อเดียวกับแบรนด์องค์กรหรือไม่เหมือนก็ได้ เช่น ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค, อสังหาริมทรัพย์ทั้งขายบ้าน คอนโด ทาวน์เฮาส์, โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น 

3. Retail Brand คือ แบรนด์ที่เป็นลักษณะการสร้างรายได้ด้วยการขยายสาขาของร้านค้า ซึ่งมีทั้งสินค้าที่เป็นของตนเองหรือไม่ก็ได้ อาทิ เช่น ห้างสรรพสินค้า, ร้านค้าปลีก, ร้านค้าส่ง, ร้านอาหาร, ร้านกาแฟ, Supermarket, ร้านหนังสือ

ซึ่งในบางแบรนด์เป็นทั้งแบรนด์สินค้าและแบรนด์ร้านค้าในตัวด้วย เช่น ร้าน Apple Store เป็นทั้งแบรนด์สินค้าและแบรนด์องค์กร, ข้อสังเกตุแบรนด์ร้านแฟชั่นมักจะเป็นชื่อเดียวกับแบรนด์สินค้า เช่น Zara .Uniclo, H&M, LV, CK เป็นต้น 

4. Service Brand คือ แบรนด์ที่ทำธุรกิจหรือการสร้างรายได้จากค่าบริการ โดยเป็นการให้บริการซึ่งโดยอาจมีการบริการผ่านตัวบุคลากร บางประเภทมีหน้าร้านหรืออาคารสถานที่ เป็นต้น

บางประเภทก็ไม่มีหน้าร้าน เช่น ธุรกิจคอนซัลต์, ธุรกิจโรงเรียน, ธุรกิจสปา, ธุรกิจบริการสาธารณะ, รถขนส่งสินค้า, รถไฟฟ้า และธุรกิจโรงแรม แม้กระทั่งธุรกิจที่ให้บริการของภาครัฐ เป็นต้น 

5. Online Brand คือ แบรนด์เว็บไซต์หรือ Application ที่สร้างธุรกิจบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในยุคใหม่ มีลักษณะการหารายได้แบบการเช่าใช้งานหรือในกลุ่ม Revenue แบบ Operate ที่เป็นที่นิยมแบบ Subscription  หรือแบบการหารายได้แบบคิดค่าบริการตามจำนวนการขายผ่านแพลตฟอร์ม (Transaction fee) ซึ่งมีทั้งที่เป็นเว็บไซต์, Cloud และที่เป็น Application อาทิเช่น อาลีบาบา, Tinder (แอปหาคู่และเพื่อนรู้ใจ), AWS (Amazon web service), Netflix, Google เป็นต้น 

6. Guarantee Brand คือ แบรนด์การันตีหรือแบรนด์ที่ให้การรับรอง ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีความพิเศษตรงที่เป็นแบรนด์ที่มีบทบาทหน้าที่ไปสนับสนุนผู้อื่น โดยลักษณะรายได้เป็นค่าบริการที่เข้าไปตรวจสอบมาตรฐานหรือคุณสมบัติของสินค้าและบริการนั้นๆ ซึ่งแบรนด์ในกลุ่มนี้มักเป็นแบรนด์ที่เป็นมาตรฐานจากองค์กรรัฐหรือเอกชน เช่น แบรนด์เชลล์ชวนชิม, แบรนด์มิชลินสตาร์, แบรนด์ EIA , แบรนด์ อย.(องค์การอาหารและยา), แบรนด์ กลต., แบรนด์ ISO, เป็นต้น