เรียนรู้วิกฤตครั้งแรกของ Alibaba

ธุรกิจที่ขาดกลยุทธ์ที่ดีพอ หากยิ่งขยันยิ่งล้มเหลว จริงหรือไม่ ?

มาเรียนรู้ถึงความล้มเหลวของแบรนด์ที่วันนี้กลายเป็นแบรนด์ระดับโลกไปแล้ว นั่นก็คือ อาลีบาบา แม้จะสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ก็เคยล้มเหลวจนเกือบล้มเลยทีเดียว ถือเป็นหายนะครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่งเลยก็ว่าได้ วันนี้บารามีซี่ พาทุกท่านมาเรียนรู้ร่วมกันถึงความผิดพลาด วิกฤติครั้งแรกของอาลีบาบา
 
ประโยคนี้คือบทสรุปการเรียนรู้ในครั้งนี้
“ถ้าทิศทางกลยุทธ์ผิด แม้วิธีการจะดีเยี่ยมก็เท่ากับเป็นการเร่งความล้มเหลวให้เกิดขึ้น”
 
ซึ่งเรื่องมีอยู่ว่า ในปี 2000 อาลีบาบาได้เงินสนับสนุนจากนักลงทุนร่วม 30ล้านดอลล่าร์ เรื่องเงินทุนจึงไม่เป็นปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่ว่านำเงินไปใช้ขยายธุรกิจอย่างไร ? แต่ทำไมบริษัทที่มีเงินทุนสำหรับขยายธุรกิจมากขนาดนี้แต่กลับสร้างความหายนะตามมาโดยสาเหตุสำคัญคือ การขาดกลยุทธ์ที่ถูกต้อง เกิดอะไรขึ้น ?
 
โดยภาพรวมการเกิดวิกฤติ เกิดจากนโยบายการขยายให้อาลีบาบาเป็นอีคอมเมิร์สที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ทุกอย่างดูเหมือนไม่เป็นไปตามแผน และตามมาด้วยปัญหามากมาย
ซึ่งเกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง ?
1. ย้ายฐานออกนอกประเทศเร็วเกินไป โดยย้าย สนง.ใหญ่ไปอยู่ฮ่องกงซึ่ง เป็นการขยายโดยรากของบริษัทต้นกำเนิดในประเทศยังไม่แข็งแรงพอ
2. วัฒนธรรมองค์กร ที่ยังไม่แข็งแรงในการสร้างทีมในระดับสากล
3. ความชัดเจนในแผนธุรกิจหรือ Business Model ในการทำกำไรยังขาดแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน ทำให้การขยายทีมงานขาดความรัดกุมทำให้ไม่มีทิศทางที่ชัดเจนให้ทีมงานที่รับเข้ามา
4. ขยายธุรกิจไปต่างประเทศมากเกินความจำเป็น,ต้นทุนสูง และที่สำคัญคนในองค์กรที่ขาดความชำนาญและประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับต่างประเทศทำให้ ขาดการควบคุมที่ดีพอ
– ซิลิคอลวัลเลย์ จ้าง พนง. R&D จำนวน 20 คนเงินเดือนเท่า 200 คนในจีน
– ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
5. นักลงทุนช่วงนั้นรับผลกระทบจากสภาวะ ฟองสบู่ในธุรกิจด้านอินเตอร์เน็ทที่ซิลลิคอลวัลเล่ย์ ทำให้นักลงทุนรัดเข็มขัดเก็บเงินสดไว้กับตัวไม่มีการลงทุนที่หวือหวาเหมือนช่วงที่ผ่านมา ทำให้ยากต่อการระดมทุน
 
การแก้ปัญหา :
เป็นการดำเนินการเพื่อกลับมาตั้งหลักใหม่หลังจากพบว่าเงินในบริษัทเหลือใช้ไม่ถึง 6 เดือน โดยการดำเนินการจัดการภายใต้มาตรการ “กลับสู่ ประเทศจีน”
1. ปลดพนักงานเพื่อลดต้นทุนการจัดการจำนวนดังนี้
– ซิลิคอลวัลเล่ย์ จาก 30 ปลดเหลือ 3 คน
– ฮ่องกง จาก 30 ปลดเหลือ 8 คน
– ปักกิ่ง ปลดเหลือ ครึ่งหนึ่ง
– เกาหลีใต้ปิดถาวร
2. ลดต้นทุนการเดินทางโดยให้พักเฉพาะโรงแรม 3 ดาวเท่านั้น
3. การแก้ปัญหาครั้งนี้ผ่านไปได้ส่วนหนึ่งก็เพราะมีมิตรดีในการเตือนสติ คือ หุ้นส่วนที่ชื่อ ไช่ฉงซิ่น ที่เป็นมิตรและหุ้นส่วนไม่กี่คนที่กล้าพุดอย่างตรงไปตรงมา
 
บทเรียนนี้แสดงให้เห็นถึงความเสียหายที่เกิดจากการขาดกลยุทธ์ที่ชัดเจนถูกต้องในทุกๆด้านทำให้การตัดสินใจดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรมีข้อผิดพลาดมากมาย แต่ก็ต้องชื่นชมในการแก้ปัญหาที่รวดเร็วและมีการฟีดแบคกันในองค์กรโดยเฉพาะจากทางหุ้นส่วนอย่างตรงไปตรงมา ทำให้สามารถพ้นจากวิกฤติครั้งนี้มาได้สำเร็จ
 
แต่จะดีกว่าหรือไม่หากความเสียหายนี้จะไม่เกิดขึ้นเพียงแค่องค์กรของท่านมีกลยุทธ์ที่ถูกต้องนำทาง ?
 
อ้างอิงจากหนังสือ : แจ็คหม่า รองเท้ากังฟู กับหลักคิดในการทำธุรกิจ
เขียน : หวังลี่เฟิน หลี่เสียง สำนักพิมพ์ We learn.