ทางลัดสร้างแบรนด์ให้โตด้วยการประเมินมูลค่าแบรนด์ (Brand Valuation) การมีแบรนด์ที่ดี ก็เปรียบเสมือนกับการวางเสาเข็ม สร้างรากฐานให้ธุรกิจมั่นคงในระยะยาว เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงสุด

👍 หากพูดถึงการมีแบรนด์ที่ดี แน่นอนว่าเปรียบเสมือนกับการวางเสาเข็ม สร้างรากฐานให้ธุรกิจมั่นคงในระยะยาว เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงสุด แบรนด์ที่ผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์กลยุทธ์อย่างพิถีพิถันนั้น มักได้เปรียบคู่แข่งในตลาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะด้านคุณค่าที่เด่นชัดสามารถจับต้องได้เป็นมูลค่าแบรนด์

ในยุคนี้ การประเมินมูลค่าแบรนด์ นับเป็นสิ่งที่น่าจับตามองมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเหล่าเจ้าของธุรกิจนั้นเริ่มมองการสร้างแบรนด์เป็นมากกว่าเพียงแค่การตลาด โฆษณา หรือไม่ได้มองเพียงแค่ภาพลักษณ์ขององค์กรอีกต่อไป

📊 วันนี้บารามีซี่ ขอหยิบยกประเด็นที่เราคิดว่าจะกลายเป็นจุดสำคัญของการพัฒนาและต่อยอดแบรนด์ในยุคนี้ จากการเป็นองค์กรที่ดี ไปสู่การเป็นองค์กรที่เติบโตขึ้นอย่างยั่งยืน นั่นคือ “การประเมินมูลค่าแบรนด์จะเป็นเส้นทางลัดให้ธุรกิจไปสู่เป้าหมายการเติบโตได้อย่างไร”

🎯 ในทางธุรกิจแบรนด์มีความหมายมากกว่าการเป็นตราสินค้า โลโก้ หรือเครื่องหมายการค้าที่แยกแยะความแตกต่างของสินค้า จะเห็นได้ว่าแบรนด์นั้นมีมูลค่าที่สามารถประเมินออกมาเป็นตัวเงินได้ ในที่นี้เรากำลังพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า “Price Premium” หรือราคาที่ลูกค้ายอมจ่ายมากขึ้นตามคุณค่าแบรนด์นั้นๆ มากกว่าแค่การซื้อฟังก์ชันของสินค้า หรือบริการเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การลงทุนเท่าเดิม แต่คุณจะได้รับผลกำไรมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า

🔍 มีงานศึกษาและวิจัยมูลค่าแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเป็นประจำทุกปี เช่น กลุ่มบริษัท Interbrand ได้เปิดเผยข้อมูลการศึกษาแบรนด์ประจำปี 2022 โดย 4 อันดับแรกของแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงสุด คือ Apple, Microsoft, Amazon และ Google ที่มูลค่าแบรนด์กลายเป็นสินทรัพย์ที่เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า องค์กรเหล่านี้ขึ้นชื่อเรื่องการมีสาวกที่ยอมจ่ายเพิ่มขึ้นกับสินค้าใหม่ๆ โดยไม่สนใจว่าจะราคาแพงเท่าไรด้วยซ้ำ

สำหรับโมเดลการประเมินมูลค่าแบรนด์ ที่ทางบารามีซี่มีกระบวนการวิจัยออกมาร่วมกับทาง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้

✅ 1. Brand Strength หมายถึง ความแข็งแรงของแบรนด์หรือสุขภาพแบรนด์ที่วัดทั้งปัจจัยภายใน (Internal Factors)  และปัจจัยภายนอก (External Factors)  ดังนั้นการความแข็งแรงของแบรนด์นั้นจะมาจากดัชนีที่สำคัญที่สะท้อนการบริหารจัดการภายในควบคู่กับการที่แบรนด์มีคุณค่าและทำให้ลูกค้ารักและอยากบอกต่อแบรนด์นั้นๆ โดยการวิจัยของทาง  Baramizi  เราได้พบปัจจัยอยู่ 6 ด้านด้วยกันซึ่งเราเรียกว่า  BFV Model™ (Brand Future Valuation Model)

✅ 2. Brand Impact หมายถึง ประสิทธิภาพของตัวแบรนด์เพียงอย่างเดียวที่ผู้บริโภคไว้วางใจและตัดสินใจซื้อเพราะแบรนด์

✅ 3. Future Financial Forecast หมายถึง ประสิทธิภาพทางการสร้างรายได้ในอนาคต ซึ่งมาจากโอกาสการสร้างรายได้ในอนาคต  (Financial Forecast) และ รูปแบบการออกแบบรายได้  (Revenue Model)  ที่สามารถสเกลได้ในอนาคต

🎯 สรุป
เมื่อประเมินมูลค่าแบรนด์ตามองค์ประกอบเหล่านี้แล้ว จะพบว่า แบรนด์ที่มีมูลค่าสูงหรือมีความแข็งแรงมาก จะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ช่องทางการจัดจำหน่าย และการกระจายสินค้า มีอำนาจต่อรองกับคนกลาง เสียค่าธรรมเนียมในการวางสินค้าในจำนวนที่ต่ำกว่า และได้รับการจัดสรรพื้นที่ที่ดีในการวางขายสินค้า รวมถึงสามารถกำหนดกลยุทธ์และทิศทางงบประมาณ การบริหารแบรนด์ และสร้าง Brand Superfans ของแบรนด์ให้มีความยั่งยืนอีกด้วย

⭐ ดังนั้น แม้แบรนด์จะมีความสำคัญและคุณค่าต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก แต่เมื่อมีแบรนด์ที่แข็งแรงแล้ว หากต้องการสเกลหรือขยายธุรกิจอย่างยั่งยืนแล้ว การประเมินเพื่อทราบมูลค่าของแบรนด์ นับเป็นเครื่องมือที่จำเป็นและขาดไม่ได้ในยุคนี้ และยุคถัดไป เพื่อการวัดความแข็งแกร่ง ระดับของกิจการ รวมถึงการสื่อสารไปยังผู้บริโภค สังคมได้รับรู้ถึงความเป็นที่ยอมรับในตลาดที่จะบอกเจ้าของแบรนด์ทุกท่านได้ว่า แบรนด์ของท่านมีมูลค่ามากหรือน้อยกว่าคู่แข่งในตลาด และหากจะเพิ่มมูลค่าแบรนด์ให้มากขึ้นต้องทำอย่างไรนั่นเองค่ะ