GQ : Brand Transformation หัวใจสำคัญการทรานส์ฟอร์มแบบ GQ ที่กล้าในการก้าวไป

หากพูดถึงแบรนด์ที่สามารถปรับตัวให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกในยุค Digital disruption นั้น คงจะพลาดไม่พูดถึงแบรนด์ GQ หรือก็คือ บริษัท Supara group (บริษัท สุภารา จำกัด) ไม่ได้ GQ เป็นแบรนด์เสื้อผ้าจากประเทศไทยซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน และปัจจุบันอยู่ภายใต้ความดูแลของคุณ วีรธิป ธนาภิสิทธิกุล (วิน)

GQ ได้ทรานส์ฟอร์มแบรนด์จาก Fashion business สู่ Tech apparel company เพราะได้รับรู้ถึงปัญหาที่ว่าบริษัทกำลังเผชิญภาวะ The sea of sameness (การตลาดในห้วงสมุทรของความจำเจ) และไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่อายุน้อยได้ ซึ่งผลลัพธ์หลังการทรานส์ฟอร์ม คือ บริษัทรอดพ้นจาก Digital disruption และยังทำให้ GQWhite™ หนึ่งในนวัตกรรมหลังการทรานส์ฟอร์ม มียอดจำหน่ายสูงถึง 300,000 ตัว คาดว่าจะทำรายได้ได้ถึง 400 ล้านบาท รวมถึงมียอด Engagement จากผู้บริโภคกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นภายใน 1 ปีหลังการทรานส์ฟอร์ม

เรามาดูกันว่าอะไรคือกลยุทธ์ที่บริษัทใช้เพื่อให้ก้าวผ่านปัญหาและได้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งนี้ !!

1. Leveraging digital data
GQ พบว่าแบรนด์เสื้อผ้าไทยตกอยู่ในสภาวะ The sea of sameness หรือภาวะแบรนด์มีสินค้าคล้ายกันทำการตลาดคล้ายกัน GQ จึงเริ่มต้นทรานส์ฟอร์มด้วยการเก็บ Insight ออกสำรวจความเห็นจากผู้บริโภค นำไปสู่การเกิดอีก 4 กลยุทธ์ย่อย คือ

    • Better innovation (นวัตกรรมที่ดีกว่าของเดิมที่เคยมีมา)
    • Simplified patented sizing system (ระบบจัดการไซส์ที่เข้าใจง่าย)
    • Great digital marketing (การทำ Digital marketing ที่ช่วย Drive new traffic)
    • WOW merchandising (สินค้าที่สามารถทำให้ลูกค้าทุกคนรู้สึกว้าว!)

2. Innovating products
GQ ไม่ต้องการเป็นแค่ Fashion business แต่ต้องการปรับเปลี่ยนเป็น Tech apparel company เมื่อผลิตภัณฑ์ของผ่านการทรานส์ฟอร์มแล้ว ผู้ใช้ต้องรู้สึกถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานลงในผลิตภัณฑ์และรู้สึกเหมือนได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีใหม่

3. New touchpoint
เพื่อรับมือกับการทำธุรกิจในโลกยุค 4.0 สร้างประสบการณ์แบบ Omni-channel เพิ่มการรับรู้แบรนด์ GQ เพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย เช่น การขายผ่าน E-commerce ผลักดันให้เกิด Distribution site เช่น การขายไลฟ์สด “The coffee-spill Demo of GQWhite™” กับทาง LAZADA และสร้าง Concept store ที่สถานีรถไฟฟ้า อารีย์เป็นต้น

วิเคราะห์หัวใจความสำเร็จ (Key factors)

  1. การวิเคราะห์ Data และหา Customer insight :  ก่อนการทรานส์ฟอร์ม แบรนด์เริ่มจากการเก็บข้อมูลและสำรวจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า จึงทำให้ปรับเปลี่ยนไปได้ถูกทาง เช่น การพัฒนาระบบจัดการไซส์ที่เข้าใจง่าย หลังพบว่ากลุ่มลูกค้าผู้ชายมักสับสนเรื่องไซส์เสื้อผ้า เป็นต้น
  2. พร้อมปรับตัว ไม่ยึดติดกับ Brand definition เดิม : GQ กล้าออกจากการนิยามธุรกิจแบบเดิมที่ทำมานานกว่า 60 ปี ทรานส์ฟอร์มแบรนด์ให้สอดคล้องกับเทรนด์โลกและบริบทการแข่งขันในโลกยุคดิจิทัล โดยการนิยามธุรกิจขึ้นใหม่จากผู้จัดจำหน่ายเสื้อผ้าเป็น “ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม พร้อมส่งมอบประสบการณ์ที่ตอบโจทย์และเหนือความคาดหมายในทุก ๆ ช่องทาง”
  3. สอดคล้องกับ Mega Trend GQ : ดึงเอาเทคโนโลยีมาใช้ในผลิตภัณฑ์ สร้างสรรค์นวัตกรรม ทำให้สินค้าตนต่างออกไปจากคู่แข่ง สอดรับกับเทรนด์ที่กำลังมา
  4. รวดเร็ว และสร้างสรรค์ : หลังจากเก็บ Data และศึกษาตลาดแล้ว GQ ใช้เวลาพัฒนาและสร้างสรรค์โมเดลการทำธุรกิจและนวัตกรรมต่าง ๆ เพียงแค่ 1 ปี ซึ่งสิ่งนี้เป็นคุณลักษณะที่สำคัญในการทำธุรกิจยุค 4.0