รู้จักโมเดลธุรกิจยุคใหม่ในรูปแบบ Freemium จากแบรนด์ดังอย่าง Tinder

Tinder แอพพลิเคชั่นหาคู่ยอดนิยมมีที่ผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการทำให้คนมั่นใจในการเดทที่จะได้คุยกับคนที่อยากจะคุยด้วย มีรสนิยมและทัศนคติที่ตรงกันมากที่สุด จนแอพนี้ทำความนิยมมหาศาล กลายเป็นการสร้างพฤติกรรมใหม่ในการปัดซ้าย ปัดขวา match คนที่ใช่แล้ว แต่แท้จริงแล้ว อีกปัจจัยแห่งความสำเร็จของ Tinder ก็คือการหารายได้ หรือ Revenue Model ที่น่าสนใจในรูปแบบที่เรียกว่า Freemium

Freemium คืออะไร ต้องเกริ่นก่อนว่าแท้จริงแล้ว Freemium ไม่ได้เป็นรูปการหารายได้ใหม่ เพราะระบบนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ยุค 1980 ในการขาย Software ให้ผู้ใช้ได้ลองใช้แบบฟรีๆ กันก่อน แต่จำกัดบริการบางส่วนให้ลูกค้าต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม จนผู้ใช้บริการสามารถนานพอที่จะตัดสินใจซื้อบริการเพิ่มเติม

Tinder ก็ใช้ระบบนี้เช่นกัน โดยเน้นการให้บริการฟรีอย่างมีข้อจำกัด แต่มีบริการเพิ่มอย่าง Tinder Plus และ Tinder Gold ซึ่งอนาคตกำลังจะมีแผนทำ Tinder Platinium ซึ่งการให้บริการ Feature พิเศษที่พัฒนาล้วนแต่มาจากความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภค  เช่น ในช่วงแรก Tinder มีรายได้จากโฆษณาเท่านั้น แต่เมื่อพบว่าผู้ใช้มักจะปัดพลาด ไปเผลอปัดคนที่ตนเองสนใจทิ้งไป Tinder จึงทำ Rewind ขึ้นมาเพื่อให้เรากลับไปกดคืนได้  หรือการ ​Boost เพื่อให้คนอื่นๆ ได้เห็น Profile ของเรามากขึ้น ซึ่งหากไม่ซื้อแพ็คเกจก็จะไม่ได้รับสิทธินี้

แต่นอกจาก Feature ที่คิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานแล้ว ยังมีเรื่องของการ “จำกัด” การใช้งาน เพื่อให้คนใช้งานรู้สึกอยากเข้าแอพทุกๆ วัน หรือวันละหลายๆ ครั้ง ก็ต้องยอมเสียเงินเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ตนเองได้รับประสบการณ์ที่มากกว่าเดิม

ความสำเร็จของระบบ Premium Features นี้ สามารถเห็นได้จากปริมาณผู้ Subscripe ที่จ่ายเงินเพิ่มมีเพียง 20 % ของผู้ใช้งานทั้งหมด หรือประมาณ 5.9 ล้านคนเท่านั้น แต่สามารถสร้างรายได้มากกว่า 60% ของรายได้ทั้งหมด หากลองคิดเล่นๆ ปี 2019 Tinder มีรายได้กว่า 1.15 พันล้านเหรียญ แสดงว่ายอด Subscripe สร้างรายได้กว่า 690 ล้านเหรียญให้แก่บริษัท

นี่จึงแสดงให้เห็นได้ว่าการหารายได้รูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดจากการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคอย่างถี่ถ้วน การใส่ความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ลงไปในรูปแบบของการหารายได้ จนเกิดเป็นความสำเร็จที่พร้อมจะเติบโตในยุค 4.0