BaramiziLabResearch

การวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจที่ถูกต้องเป็นอย่างไร? ตีแผ่วิธีการ...การวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจ

การวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจต้องไม่จำกัดวิธีการ วิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงปริมาณ วิจัยตลาด วิจัยเพื่อการออกแบบ ยึดโจทย์ทางธุรกิจเป็นที่ตั้งที่สำคัญแล้วจะใช้กระบวนการใดหรือจะผสมผสานอย่างไรก็ได้ให้มุ่งเป้าคำตอบได้สูงสุด

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ ผู้ประกอบการ นักสร้างแบรนด์ นักออกแบบ หรือนักพัฒนานวัตกรรมใหม่ ทุกท่านเคยมีความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจ หรืองงงวยกับผลลัพธ์ทางการตลาดที่เกิดขึ้นตลอดเส้นทางการเดินหน้าในธุรกิจของคุณบ้างมั้ยคะ… นับไม่ถ้วนเลยใช่มั้ย การเผชิญกับโจทย์ที่สับสนงุนงงทางธุรกิจใครๆ ก็เป็นกันค่ะ แม้แต่ตัวดิฉันและทีมงานที่ทำธุรกิจในฐานะเป็นบริษัทวิจัยและที่ปรึกษาก็เจอกับมันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ลูกค้าจะชอบผลงานที่เราเสนอมั้ย ลูกค้าจะหาเราเจอ ได้ยังไง ทำไมสิ่งนี้ที่เราคิดว่าดีแต่ปล่อยไปทำไมถึงแป้ก งานนวัตกรรมนี้ เหมาะแก่การลงทุนหรือไม่ ทำยังไงให้ลูกค้า Loyalty กับเรา แต่ด้วยธุรกิจของ Baramizi Lab มีลักษณะเป็น B2B (Business to Business) และเป็นลักษณะของการให้บริการที่ใกล้ชิด ได้พูดคุย ได้รับฟัง และสำรวจความคิดเห็นของผู้ร่วมงานด้วยกันตลอด หลายครั้งก็ถามกันได้ตรงๆ ทำให้ความสับสนงุนงงของธุรกิจ Baramizi Lab นั้นยังสามารถหาวิธีคลายข้อสงสัยได้ง่ายและรวดเร็ว แต่กับผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ในอีกหลายธุรกิจไม่ได้เป็นอย่างนั้น ในธุรกิจที่เป็น B2C (Business to Consumer) ที่ลูกค้ามีจำนวนมากรายและแต่ละรายมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ไม่มาก หรือต่อให้เป็นธุรกิจบริการ ถ้าองค์กรใหญ่ขึ้นมาหน่อยก็ไม่มีทางที่ผู้บริหารหรือเจ้าของแบรนด์จะสัมผัสถึงความรู้สึกนึกคิดของลูกค้าได้ตรงๆ เช่นเดียวกับธุรกิจ B2B (Business to Business) ที่มีลูกค้าจำนวนมากรายขึ้นมาหรือรูปแบบการให้บริการไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดลูกค้าจนสามารถเข้าใจที่อยู่เบื้องลึกในใจจริงๆ ของลูกค้าได้ สิ่งนั้นทำให้การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ต่างๆ นั้น อาจล้มเหลวหรือผิดพลาดได้ เพราะเราขาด “ข้อมูล” ที่ช่วยในการตัดสินใจ

ท่ามกลางโจทย์ที่หลากหลายของธุรกิจที่หลากหลาย Baramizi Lab ในฐานะที่ปรึกษาในด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาธุรกิจได้ปฏิบัติและสร้างผลงานทางการวิจัยเพื่อตอบแต่ละโจทย์ของธุรกิจใหญ่น้อยตลอดเส้นทางการเดินทางของพวกเรา ถ้าถามว่า “วิธีการวิจัยแบบไหนคือดีที่สุดสำหรับตอบปัญหาทางธุรกิจ?” จากประสบการณ์การทำงานย่างเข้าขวบปีที่ 13 บอกได้เลยว่า เราต้องไม่มีข้อจำกัดในการเลือกใช้เครื่องมือหรือวิธีจะเป็นการดีที่สุดค่ะ การที่เราสามารถรู้จักวิธีใช้ที่ได้จากทุกเครื่องมือรู้ให้มากพอว่าเครื่องมือเหล่านี้จะให้ผลลัพธ์ออกมาหน้าตาอย่างไร? มี Character อย่างไร? และมีข้อจำกัดอะไรจะทำให้เราต่อกรกับทุกโจทย์ที่ท้าทายของธุรกิจได้ 

เครื่องมือและกระบวนการวิจัยมีด้วยกันหลายตัวค่ะ ถ้าจะแบ่งกว้างๆ แบบที่ Baramizi Lab มักจะวางเป็นอาวุธพร้อมใช้ เราแบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน

  1. วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
  2. วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

2 ประเภทนี้เชื่อว่าเพื่อนๆ ในแวดวงธุรกิจ และการตลาดได้ยินกันบ่อยก็เป็น 2 วิธีการที่ยันพื้นจริงๆ แต่นอกจาก 2 วิธีการนี้ในยุค 4.0 ยังมีอีก 2 วิธีที่เข้ามาเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจและเริ่มเข้ามามีบทบาทบ้าง คือ

  1. เครื่องมือ Social Listening ซึ่งทำหน้าที่กวาด ความคิดเห็นในสังคมออนไลน์ ทำให้สามารถเห็นทิศทางและปริมาณของ Insight บางอย่างได้
  2. Online Poll คล้ายๆ กับการเก็บแบบสอบถามออนไลน์ แต่มาในรูปแบบของชุดคำถามสั้นๆ ถามกับกลุ่มคนที่เป็นสมาชิกที่มีการฝาก Profile ไว้แล้ว

“4 เครื่องมือในการทำวิจัยนี้ช่วยตอบโจทย์ในแต่ละวาระและโอกาสของโจทย์ทางธุรกิจในยุคนี้ได้ค่อนข้างลงตัวค่ะ ซึ่งในแต่ละโจทย์จะไม่ได้ใช้ครบทั้ง 4 เครื่องมือ ขึ้นอยู่กับหัวเรื่องที่ต้องการวิจัย”

 

รูปแบบการวิจัยและตัวอย่างผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัย

  1. การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) – ในโจทย์ทางธุรกิจที่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นการเข้าใจ Insight กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นมุ่งเน้นการคุยอย่างมีคุณภาพเพื่อเจาะเข้าไปถึงประเด็นที่อยู่ลึกจริงๆ ได้คำตอบระดับ Unmet Need (ความต้องการที่ซ่อนเร้น) และใช้จำนวนไม่มาก การประมวลผลก็ใช้เวลาน้อยที่สุดไปด้วย วิจัยเชิงคุณภาพจึงถูกใช้บ่อยที่สุดในการค้นคว้าโจทย์ทางธุรกิจ แต่ข้อจำกัดคือ ไม่สามารถให้มุมมองเชิงขนาดของความต้องการได้ กรณีต้องการตัวเลขประกอบการตัดสินใจอย่างมั่นใจ กระบวนการเชิงคุณภาพจะยังไม่เพียงพอ ระยะเวลาต่อโครงการประมาณ 1.5-2 เดือนขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอย่าง

[คลิกรับฟัง การค้นหา Unmet Need]

ตัวอย่างผลลัพธ์การวิจัยเชิงคุณภาพ

FutureLabResearchOutcomeNeed Laddering
FutureLabResearchOutcomeNeed Laddering

 

  1. วิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) – คุณสมบัติสำคัญของกระบวนการนี้คือการสามารถอ่าน Insight ได้ในเชิงภาพรวมของตลาดและที่สำคัญคือสามารถเห็นสัดส่วนของความต้องการและ Insight แต่ละส่วนได้จึงช่วยประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ข้อจำกัดคือใช้เวลาและงบประมาณค่อนข้างสูงเนื่องจากต้องใช้ทีมทำงานในระบบจำนวนมากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสินค้าหรือบริการไม่ใช่สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็นลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่ง Baramizi Lab เคยรับโจทย์ศึกษาเกี่ยวกับแบรนด์ข้าว พบว่าใน 10 คนจึงจะพบคนที่เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ซื้อข้าวสารถุง 5 กก.ด้วยตัวเอง 1 คน แล้วพอขยับเป็นคนซื้อบ้านเดี่ยวระดับราค 20 ล้านบาท หรือรถยนต์คันละ 5 ล้านบาท ก็จะยิ่งทำให้งบประมาณในการได้มาต่อกลุ่มเป้าหมายสูงขึ้น เวลาและงบประมาณจีงนับเป็นข้อจำกัดสำคัญของกระบวนการนี้ ระยะเวลาต่อโครงการประมาณ 3-4 เดือน

 [คลิกเพื่อรับฟังการวิจัยทั้ง 2 ประเภทแตกต่างกันอย่างไรได้ที่ Future Research Podcast].

 

ตัวอย่างผลลัพธ์การวิจัยเชิงปริมาณ

 

FutureLabResearchOutcome_TheDayAfterCrisis_การวิจัยเชิงปริมาณ
FutureLabResearchOutcome_TheDayAfterCrisis_การวิจัยเชิงปริมาณ

 

  1. การใช้ข้อมูลจาก Social Listening – เป็นการใช้เครื่องมือ Social Listening Tools ในการกวาดข้อมูลจากสังคมออนไลน์และทำการวิเคราะห์จัดกลุ่มหาความเชื่อมโยงของเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์และประเมินแนวโน้มต่างๆ วิธีการนี้เลือกใช้ในโจทย์ที่ต้องการหาแนวโน้มบางอย่าง เช่น แนวโน้มของเรื่องราวการท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจ เรื่องราวการท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆ ตลอดจนชื่อเสียงของแบรนด์ในโลกออนไลน์ เป็นต้น การเลือกใช้กระบวนการนี้ส่วนใหญ่จะเลือกใช้ประกอบกับวิธีการอื่นๆ เนื่องจากเสียงต่างๆ ในออนไลน์ยังไม่อาจแทนค่าเสียงทั้งหมดจริงๆ ได้ แต่ความน่าสนใจคือสามารถให้ทิศทางในขั้นต้นเพื่อเปิดช่องทางในการศึกษาเชิงลึกต่อไป ข้อดีของ Social Listening คือ ใช้ระยะเวลาและงบประมาณในการได้มาซึ่งข้อมูลต่ำกว่า เหมาะกับโจทย์ที่ต้องการข้อมูลสดใหม่ หาไอเดียแบบเร็วๆ นำไปต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ได้เลยโดยความเสี่ยงไม่สูง เช่น ไอเดียเพื่อสร้างเรื่องราวการโฆษณา เป็นต้น ระยะเวลาต่อโครงการอยู่ที่ประมาณ 1 เดือน

ตัวอย่างผลลัพธ์การวิจัยโดยใช้ข้อมูล Social Listening

         สำหรับท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดอ่านได้ที่ เว็บไซต์ของศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว:(หัวข้อบทวิเคราะห์และงานวิจัย > งานวิจัย ททท. ที่เกี่ยวข้อง) ข้อมูลวิจัยการนำเสนอคุณค่าและเรื่องราวของแหล่งท่องเที่ยวจากสื่อสังคมออนไลน์ (Social Listening) โดยข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาแนวทางสร้างสรรค์เรื่องราวเพื่อเพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย

BaramiziLab-SocialListening_การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหน้า2
BaramiziLab-SocialListening_การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
BaramiziLab-SocialListening_การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหน้า3
BaramiziLab-SocialListening_การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
BaramiziLab-SocialListening_การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหน้า6
BaramiziLab-SocialListening_การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
BaramiziLab-SocialListening_การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหน้า8
BaramiziLab-SocialListening_การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

 

  1. เครื่องมือ Online Poll – เป็นกระบวนการเก็บข้อมูลในยุคใหม่ที่ใช้หลักการเหมือนการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณคือใช้เป็นแบบสอบถาม แต่ทั้งหมดอยู่ในรูปแบบของออนไลน์ ซึ่งผู้ร่วมตอบแบบสอบถามจะเป็นกลุ่มสมาชิกที่มีตัวตนจริงในโลกออนไลน์แบ่งสัดส่วนตามช่วงวัยและภูมิภาคที่อยู่อาศัย ซึ่งเมื่อเป็นรูปแบบนี้คุณลักษณะสำคัญจึงเป็นเรื่องของความรวดเร็วและสามารถครอบคลุมพื้นที่การเก็บสำรวจได้ทุกภูมิภาคโดยได้ผลคำตอบในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือนในงบประมาณที่ไม่สูงมาก และยังสามารถเก็บสำรวจได้เรื่อยๆ ในทุกๆ เดือนอีกด้วย อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของกระบวนการนี้คือ เหมาะกับโจทย์กว้างๆ ที่กลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนคนทั่วไปที่ระดับรายได้ปานกลาง ไม่เหมาะกับธุรกิจประเภท B2B หรือสินค้าที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างโจทย์ที่เหมาะสม เช่น การสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์ การทดสอบไอเดียแคมเปญ หรือการวัดผลการ Launch แคมเปญต่างๆ ที่สื่อสารออกไป 

ตัวอย่างผลลัพธ์การวิจัยโดยใช้ข้อมูล Online Poll

FutureLabResearchOutcomeTheDayAfterCrisis-OnlinePoll
FutureLabResearchOutcomeTheDayAfterCrisis-OnlinePoll

 

เมื่อมีอาวุธพร้อมมือก็ทำให้ทุกโจทย์ทางธุรกิจสามารถต่อกรได้อย่างไม่เกินเอื้อม ที่เหลือคือการท้าทายไปกันต่อกับเนื้อหาคำถามและเครื่องมือในการล้วงลึกเจาะใจลงไปในห้วงลึกจิตใจของว่าที่ลูกค้ากันค่ะ ยังมีวิธีการและเรื่องราวเทคนิคสนุกๆ ในการเก็บข้อมูลแต่ละแบบอีกมาก นี่เป็นเพียงประตูขั้นแรกที่เป็นการเลือกกระบวนการ ความสามารถที่แท้จริงที่จะทำให้การวิจัยประสบความสำเร็จจะอยู่หลังจากนี้ไปค่ะ โดยยิ่งโจทย์ทางธุรกิจมีความชัดเจนมากเท่าไหร่ ทีมวิจัยก็จะสามารถยึดมั่นในโจทย์และออกแบบคำถามและเครื่องมือทางการวิจัยที่เหมาะสมและเจาะลึกได้ซึ่งเราจะมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันในบทความครั้งต่อๆ ไปกันค่ะ

 

#FutureLabResearch #ResearchforBusiness #BaramiziLab #ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต

——————————