Psychological Segmentation

PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION 5 เรื่องน่ารู้กับ PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION

การทำ Segmentation คือการแบ่งคนที่มีความต้องการ (Needs/ Want) หรือแรงจูงใจ (Motivation) ในการเลือกสินค้าของแต่ละประเภท และหลายคนคงรู้จักรูปแบบการแบ่ง Segmentation กันบ้างแล้วว่ามีกี่รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 Demographic Segmentation เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ เป็นต้น

รูปแบบที่ 2 Geographic Segmentation เช่น ตำแหน่งที่อยู่ ภูมิภาค เป็นต้น

รูปแบบที่ 3 Behavioral Segmentation เช่น พฤติกรรมการซื้อ ความถี่ที่ซื้อ เป็นต้น

รูปแบบที่ 4 Psychological Segmentation เช่น ทัศนคติ รูปแบบการใช้ชีวิต ค่านิยมเป็นต้น 

โดยในเนื้อหานี้จะทำให้ทุกท่านได้เห็นว่า  PSYCHOLOGICAL SEGMENTATION มีความสำคัญมากน้อย หรือมีประโยชน์อย่างไรต่อธุรกิจ/ แบรนด์

 

1.Psychological Segmentation ช่วยบอกธุรกิจว่าควรเดินอย่างไร?

Psychological-Segmentation
Psychological Segmentation ช่วยบอกธุรกิจว่าควรเดินอย่างไร

แน่นอนว่าเมื่อเราต้องผลิตสินค้าหรือสร้างโครงการอะไรสักอย่าง สิ่งสำคัญคือการศึกษาภาพรวมหรือทำวิจัยว่าสิ่งที่เราจะผลิตหรือโครงการที่เราจะทำมีโอกาสในการขายได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งเราต้องหาจุดคุ้มทุน(ROI) และ 1 ในการวิจัยที่เราควรทำ คือ การหา Segment ในรูปแบบ Psychological Segmentation ที่เป็นการเชิงเจาะลึกถึงถึงรูปแบบของว่าที่ลูกค้าเราในอนาคต โดยข้อมูลที่ได้จะทำให้เห็นว่าธุรกิจเรามีรูปแบบ Segment กี่รูปแบบ และแต่ละ Segment มีพฤติกรรมอย่างไร 

ข้อมูลนี้เรามักจะนำมาใช้กำหนดกลยุทธ์ต่อไป โดยแบรนด์/ ธุรกิจต้องเลือกกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมายที่เราเลือกนั้น เราควรสร้างประสบการณ์อย่างไรให้จับใจ หรือโดนใจกลุ่มคนเหล่านี้ 

 

2. Psychological Segmentation มีความสำคัญมากขึ้นเพราะมีการบริโภคแบบ Bi-Polar Consumption 

Psychological Segmentation
Psychological Segmentation มีความสำคัญมากขึ้นเพราะมีการบริโภคแบบ Bi-Polar Consumption

 

ด้วยโลกที่เปิดกว้าง อินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกคนทำให้คนเริ่มเข้าใจตัวเองและหาสิ่งสังคมที่ตรงกับความชื่นชอบของตัวเอง การเดินทางที่ง่ายขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์ที่แตกต่าง ทำให้เกิดความคิด หรือความสนใจที่แตกต่างกันไป ดังนั้นทำให้การแบ่งกลุ่มด้วย Psychological Segmentation จึงมีความสำคัญมากขึ้น ประกอบกับสมัยปัจจุบันมีการบริโภคแบบ Bi-Polar Consumption คือ การบริโภคที่ไม่เป็นไปตามปกติตามอดีตที่ผ่านมา จึงทำให้การกำหนด Segmentation ควรเริ่มมองที่ Psychological Segmentation มากกว่า Segment รูปแบบอื่นๆ 

 

3.Psychological Segmentation สามารถนำไปใช้ได้จริง และสามารถนำไปต่อยอดได้

Psychological Segmentation
Psychological Segmentation สามารถนำไปใช้ได้จริง และสามารถนำไปต่อยอดได้

 

โดยปกติหากเราทำวิจัยกับผู้คนเราก็จะสามารถเรียนรู้พฤติกรรม ความต้องการ ไลฟสไตล์ ได้ แต่หากเรานำเสนอในรูปแบบเชิงสถิติเพียงอย่างเดียว เช่น สัดส่วนของเพศ สัดส่วนของรายได้ เพื่อทำให้เห้นภาพรวม เราอาจจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ต่อยาก แต่หากเราแบ่งกลุ่มที่เราเห็นว่าเค้ามี Needs/ Want มีความชอบ มีไลฟ์สไตล์ หรือมีทัศนคติต่อเรื่องนั้นๆ เหมือนกัน เราจะได้ Psychological Segmentation ซึ่งข้อมูลนี้ทำให้เกิดการนำไปใช้ต่อหรือต่อยอดได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ให้แบรนด์/ธุรกิจ (เพราะรากฐานที่สำคัญของการกำหนดกลยุทธ์แบรนด์ที่ควรคือ การหา STP) และนอกจากนี้เรายังสามารถนำไปต่อยอดในเชิงของการทำการตลาด Inbound Marketing  โดยเราสามารถสร้างสรรค์เนื้อหา (Content) หรือพัฒนาประสบการณ์ด้านต่างๆ ที่สอดรับกับคุณค่าแบรนด์ ที่จะดึงดูดกลุ่มคนเหล่านี้เข้ามาหาแบรนด์/ ธุรกิจของเรา เช่น เราจะรู้ว่าเราต้องใช้ Keyword แบบใดเพื่อดึงดูดกลุ่มคนเหล่านี้มา รวมถึง Channel ต่างๆ ที่เราจะเลือกใช้ในการเข้าถึงคนเหล่านี้ 

 

4. Psychological Segmentation ทำได้ทุกส่วนงานภายในองค์กร(แม้กระทั่ง HR ในองค์กร) 

Psychological Segmentatio
Psychological Segmentation ทำได้ทุกส่วนงานของภายในองค์กร

การหา Segmentation เราสามารถทำได้ตั้งแต่ การทำในระดับภาคใหญ่ของประเทศ เช่น การหา Segmentation นักท่องเที่ยวของผู้บริโภคชาวไทย (กรณีศึกษาใน VDO Seminar)  การทำในระดับลูกค้าขององค์กร (ซึ่งอาจจะเป็นหน่วยงานฝ่ายสื่อสารองค์กร หรือหน่วยงานที่ขับเคลื่อนองค์กรที่ดูแลส่วนนี้) การทำในกรณีต้องการสร้างโครงการใหม่  (หน่วยงานที่เป็น Product Development หรือ Business Development) การทำในกรณีออกสินค้าใหม่ หรือแม้กระทั้งการทำในระดับพนักงานภายในองค์กร

5. Psychological Segmentation สามารถหาได้โดยใช้กระบวนการวิจัยที่สอดรับกับประเภทธุรกิจ 

Psychological Segmentation
Psychological Segmentation สามารถหาได้โดยใช้กระบวนการวิจัยที่สอดรับกับประเภทธุรกิจ

 

การเก็บข้อมูลเราสามารถใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณได้ (ยิ่งถ้าได้ข้อมูลเชิงปริมาณก็จะทำให้ข้อมูล Solid มากขึ้น) ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบประเภทธุรกิจว่ามีความ Mass Market หรือ Niche Market และเป็นกลุ่มลูกค้าประเภท B2B หรือ B2C 

ซึ่งหากเป็นธุรกิจที่ซับซ้อน เช่น ลูกค้าเป็น B2B และ Niche Market เราสามารถเลือกใช้กระบวนการวิจัยแบบ Traditional Research คือ การทำ Face to Face Interview หรือ In-depth Interview แต่หากเป็นลูกค้าที่ Mass Market (กลุ่มลูกค้าที่เป็น B2C) สามารถใช้เครื่องมือวิจัยแบบออนไลน์ได้ เช่น เครื่องมือ Online Poll (สอดรับกับสถานการณ์ Covid-19 และสามารถทำได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น สะดวกขึ้น) 

เรียนรู้เพิ่มเติมเครื่องมือ Online Poll 

หากท่านใดต้องการ Service ด้านการทำ Psychological Segmentation สามารถติดต่อได้ที่ คุณป่าน 085-5469664 

สำหรับท่านใดที่ต้องการทำความเข้าใจเรื่อง Psychological Segmentation สามารถรับชม VDO สัมมนาออนไลน์ (ย้อนหลัง)  

#Segmentation #PsychologicalSegmentation #OnlinePoll #BipolarConsumption #BrandStrategy