TREND FAST TRACK : FROM PAIN 
TO GAIN ในวิกฤตยังมีโอกาส...ปัญหากระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม

ในยุคปัจจุบันทุกภาคส่วนของธุรกิจกำลังประสบกับปัญหามากมาย ทั้งการถูก Distrupt จากธุรกิจที่เป็น Tech Company, การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี, วิกฤตทางเศรษฐกิจ หรือ การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก ถ้าคนทำธุรกิจมองว่าสิ่งเหล่านี้คือปัญหา ก็จะใช้เวลาไปกับการหาวิธีทางแก้ไขหรือวิธีการรับมือที่ดีที่สุด แต่ถ้าเรามองว่าปัญหาที่เข้ามามันคือแรงกระตุ้น ผลักดันให้เราคิด มองหาโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ๆ หาช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งไอเดียในการสร้างสรรค์โฆษณาใหม่ๆ ที่นอกจากจะได้แก้ปัญหาแล้ว เรายังสร้างประโยชน์จากมันได้อีกด้วย การพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสนี้ในหลายๆ สถานการณ์คนที่มองเห็นก่อนมักได้เปรียบ เนื่องจากเป็นน่านน้ำที่ยังไม่มีใครรู้จักหรือเห็น ทำให้ยังมีปลาให้ล่าเยอะ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงที่ว่าปลานั้นอาจจะไม่ได้ล่าง่ายๆ เพราะเราไม่เคยรู้จักพื้นที่นี้ หรือไม่รู้วิธีการตกปลาชนิดนี้มาก่อน คนทำธุรกิจจึงต้องรู้จักเรียนรู้ ปรับตัวและพร้อมที่จะเจอกับปัญหาใหม่ๆ

วันนี้ Trend Fast Track โดย Baramizi Lab ก็มีกรณีศึกษาของการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสจากทั่วโลกมาเล่าสู่กันฟัง

1. [อังกฤษ] เพราะร้านค้าปลีกปิดตัวเยอะ จึงเกิดไอเดียเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นสนามกอล์ฟเพื่อความบันเทิงในร่ม

ร้านค้าปลีกในสหราชอาณาจักร มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเนื่องมาจากค้าใช้จ่ายในการเปิดร้านไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างและค่าเช่ามีการปรับตัวสูงขึ้น แต่ผู้บริโภคกลับนิยมที่จะซื้อสินค้าผ่าน online มากขึ้น ทำให้มียอดขายที่ลดลง เมื่อรายจ่ายมากกว่ารายรับกิจการก็ยากที่จะดำเนินต่อไป การปิดตัวลงของร้านค้าปลีกก็ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน เมื่อกิจการปิดตัวลงลูกจ้างย่อมตกงานไปด้วย ดังนั้นร้านค้าปลีกที่อยากจะอยู่รอด จะต้องมีการปรับตัว คิดกลยุทธ์ใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป

ขณะเดียวกันบริษัทสนามกอล์ฟในร่มแห่งหนึ่งที่ชื่อ Paradise Island Adventure Golf ยังคงขยายตัวอย่างรวดเร็วในสหราชอาณาจักร โดยลงทุนซื้อที่ของร้านค้าปลีก 8 แห่งที่ปิดตัวลงใน Plymounth เพื่อสร้างการพักผ่อนให้กับศูนย์กลางเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการที่ร้านค้าปลีกปิดตัวลงหลายแห่ง เนื่องจากการเติบโตของร้านค้าออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันสนามกอล์ฟในร่มได้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในหลายต่อหลายเมือง เช่น London, Bristol, Manchester รวมถึง Leeds

Credit : business-live.co.uk

2. [ญี่ปุ่น] เพราะสูตรอาหารแสนอร่อยกำลังจะหายไปพร้อมกับคนรุ่นเก่า จึงเกิดเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมสูตรอาหารชื่อดังในเมือง

เมืองทะคะซะกิ ในจังหวัดกุนมะ ประสบปัญหาเดียวกับเมืองเล็กๆ ในต่างจังหวัดทั่วญี่ปุ่น คือมีแต่คนแก่ เศรษฐกิจของเมืองเลยซบเซา ร้านค้าและร้านอาหารทยอยปิดตัวไปเรื่อยๆ เพราะลูกค้าน้อย คนสืบทอดกิจการก็ไม่มี ปัญหาก็คือ ถ้าสูตรอาหารเหล่านี้จะหายไปอย่างไม่หวนคืนมันก็น่าเสียดาย ตัวเมืองทะคะซะกิเลยลุกขึ้นมาแก้ปัญหาด้วยการทำคู่มือแนะนำร้านอาหารที่เรียกว่า Red Restaurants List โดยเลือกร้านที่เจ้าของแก่ ร้านเก่า ไม่มีผู้สืบทอด และอาหารต้องอร่อยแบบเสียดาย ไม่อยากให้จากไป ทำออกมาทั้งเวอร์ชันเล่มและเว็บ หลังจากแคมเปญนี้ออกไป ร้านซึ่งไม่เป็นที่รู้จักและโปรโมตตัวเองไม่เป็นเหล่านี้ก็มีลูกค้ามาอุดหนุนจนแน่น และมีนักท่องเที่ยวแห่มาที่เมืองแบบถล่มทลาย สร้างรายได้ให้เมืองได้มหาศาล ประสบความสำเร็จจนมีการต่อยอดไปทำที่เมืองอื่นด้วย

3. [แอฟริกาใต้] เพราะสงครามทำลายมรดกทางประวัติศาสตร์ จึงเกิดเป็นโครงการเก็บบันทึกสถานที่สำคัญในรูปแบบ 3D models เพื่อการศึกษาของเด็กรุ่นหลัง

The Zamani Project จัดทำโดย University of Cape Town โครงการที่เก็บรวบรวมสถานที่สำคัญทางประวิติศาสตร์ในแอฟริกาให้อยู่ในรูปแบบ lifelike 3D models ที่เหมือนของจริงเป๊ะๆ จนสามารถสวมแว่น VR แล้ว walk through ได้ มีเป้าหมายเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กรุ่นหลัง โดยใช้ High-tech Laser Scanners และ Drones ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ 10,000 point ต่อวินาทีในการจัดเก็บข้อมูล

นอกจากนี้ยังมีการสร้างสถาปัตยกรรมที่ถูกทำลายไปเพราะสงครามขึ้นมาใหม่โดยอ้างอิงจากภาพถ่ายด้วย 3D printing technology อย่างที่ Palmyra’s Triumphal Arch ที่ถูกทำลายโดย ISIS ในประเทศซีเรีย ก็ถูกสร้างขึ้นใหม่ ณ จุดที่มันเคยอยู่ เรียกได้ว่าโครงการนี้คือการสร้างอนาคตใหม่ให้กับประวัติศาสตร์

Credit : edition.cnn.com

4. [ฮ่องกง] เพราะโรคร้ายระบาด จึงเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ด้วยตัวเอง

นักเรียนในมหาวิทยาลัยที่ฮ่องกงประดิษฐ์มือจับประตูที่สามารถทำความสะอาดตัวเองได้ด้วยแสง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากโรค SARS ที่ระบาดในช่วงปี 2000s ส่งผลกระทบกว่า 6,000 คน และมีคนตายกว่า 700 โดยมากอยุ่ในพื้นที่จีนและฮ่องกง ซึ่งมือจับประตูในที่สาธารณะนี่เป็นแหล่งสะสมเชื่อโรคชั้นดีนักออกแบบกล่าวว่ามือจับประตูนี้มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดตัวเองมากกว่า การทำความสะอาดด้วยระบบเคมีแบบเดิมๆ เสียอีก ลักษณะของมือจับเป็นแท่งแก้วที่มีอลูมิเนียมอยู่บนหัวและท้าย บริเวณหิวของมือจับ เคลือบผิว photocatalytic ที่ทำจากไมทาเนียมไดออกไซด์ ซึ่งสารเคลือบนี้เองสามารถทำลายแบคทีเรียได้ด้วยการการทำปฏิกิริยาเร่งจากแสง UV ซึ่งพลังงานที่แสงได้จากพลังงานจลย์ที่สะสมจากการเปิด-ปิดประตู งานออกแบบนี้ได้รางวัล James Dyson Award ปี 2019

Credit : dezeen.com

5. [ญี่ปุ่น] เพราะช้อนพลาสติกแบบเดิมที่แถมมาในบะหมี่ถ้วยมันกินยาก จึงเปิดเป็นการออกแบบช้อนพลาสติกรุ่นใหม่ที่ตักง่ายกว่าเดิม

https://youtu.be/ADsxz0fgl7U

 

Nissin ร่วมมือกับ บริษัท ออกแบบ Nendo ผู้สร้างทางแยกที่ออกแบบอย่างลุ่มลึกตามชั่วโมงการสังเกตของผู้ใช้ ขึ้นอยู่กับมุมของแขนและรูปร่างของจานถ้วยก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีมุมที่เหมาะสม – 128 องศา – สำหรับการตักเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่พวกเขาไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้น เคล็ดลับและด้านข้างของส้อมเป็นมุมเดียวกันกับถ้วยวงกลมที่ถือบะหมี่ การกระแทกขนาดเล็กพร้อมร่องฟันของส้อมเพื่อช่วยในการร้อยเส้นบะหมี่ ตัวส้อมนั้นมีรูปร่างเหมือนกระเป๋าเล็ก ๆ เพื่อจับรสชาติและซุปในปริมาณที่เหมาะสม ที่จับของส้อมออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ แต่ยังมีส่วนหลังที่ทำจากยางซึ่งทำหน้าที่เป็นคลิปสำหรับยึดฝาในขณะที่คุณกำลังรอให้บะหมี่สุกพร้อมทาน
Credit : spoon-tamago.com

 

🔥 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน 🔥 โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคตเราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launch ออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์เพื่อให้ภาคธุรกิจรู้เห็น เป็นโอกาสในการสร้างประสบการณ์ให้กับแบรนด์ตัวเองต่อไป

#FutureLabResearch #ResearchForBusiness #FutureTrendResearch
#TrendFastTrack2019 #WisdomDrivetheFuture #Communication #BaramiziLab 

Cover Credit : gettyimages.com