INNOVATION UPDATE : สาหร่าย พืชใต้น้ำแต่ประโยชน์เหนือเมฆตั้งแต่อาหาร พลังงาน สู่การเป็นอาวุธต่อกรกับภาวะโลกร้อน

☘️สาหร่าย พืชใต้น้ำแต่ประโยชน์เหนือเมฆตั้งแต่อาหาร พลังงาน สู่การเป็นอาวุธต่อกรกับภาวะโลกร้อน
.
☀️ปัญหาภาวะสภาพอากาศเป็นสิ่งที่อยู่ในประเด็นโลกมาอย่างยาวนานทุกภาคส่วนต่างระดมความคิดในการจัดการกับการปล่อยคาร์บอนซึ่งเป็นต้นเหตุแรกๆของปัญหานี้ ในส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การลดการปล่อยและปลูกป่าเพื่อดูดซับคาร์บอน ซึ่งอาจจะต้องปลูกต้นไม้ถึง 1.2 ล้านล้านต้น
.
ซึ่งมีหลายความเห็นมองว่าอาจจะเป็นวิธีที่ไม่ดีที่สุดเพราะการมุ่งเน้นที่การปลูกต้นไม้อาจจะทำให้พื้นที่ในการเกษตรเพื่อการผลิตอาหารลดลงไปด้วย ซึ่งมีเเนวโน้มจะทำให้สินค้าอาหารราคาสูงขึ้น 80% ในปี 2050
.
ทางออกที่น่าสนใจอีกทางคือ การดูดซับคาร์บอนโดยพืชพรรณต่างๆในมหาสมุทร ระหว่างปี 1994 ถึง 2007 มหาสมุทรของเราดูดซับคาร์บอน 34 กิกะตัน
หนึ่งในสิ่งที่ทำหน้าที่ได้อย่างดีคือ สาหร่าย
☘️สาหร่ายธรรมชาติต่อการดูดซับคาร์บอน
สาหร่ายมีการดูดซับคาร์บอนเหมือนกับต้นไม้
.
แต่ด้วยกายภาพที่กระจายพื้นผิวได้มากกว่า โตเร็วกว่า ยิ่งถ้าหากรวมเข้ากับเทคโนโลยีและการประมวลผลจาก AI จนเกิดเป็น เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ (Bioreactor) สาหร่ายสามารถดูดซับคาร์บอนได้ดีกว่าต้นไม้ทั่วไปถึง 400 เท่า
เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ (Bioreactor)
.
☘️สาหร่ายต่อการแปรรูปเป็นอาหาร
การคาดการณ์จำนวนประชากรแสดงให้เห็นว่าเราจะต้องเพิ่มปริมาณอาหาร 70% ภายในปี 2050 สาหร่ายเมื่อผ่านกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพจะทำให้เป็นแหล่งของโปรตีนและสารอาหารชนิดอื่นๆได้ซึ่งถือว่าเป็นเทรนด์อาหารแห่งอนาคต ทั้งในแง่ของพื้นที่ (ใช้พื้นที่น้อย) อาหาร (ทดแทนเนื้อสัตว์, คุณค่าทางอาหารสูง) สิ่งแวดล้อม (ดูดซับ CO2)
สาหร่ายสู่วัสดุศาสตร์
.
☘️สาหร่ายจัดเป็นหนึ่งในแนวทางวัสดุศาสตร์แห่งอนาคต
เมื่อเข้าสู่กระบวนการ องค์ประกอบของสาหร่ายสามารถผลิตเป็นโพลิเมอร์ในการพิมพ์สามมิติ หรือ ส่วนหนึ่งในการผลิตอิฐบล็อกชีวภาพได้ ซึ่งการแปรรูปองค์ประกอบจากสาหร่ายเป็นที่นิยมและเห็นได้มากในวงการการก่อสร้างที่เน้นการเพิ่มวัสดุชีวภาพ (bio-material) มากขึ้น
รวมถึงวงการเครื่องแต่งกาย เส้นใยเสื้อผ้าหรือพื้นรองเท้าที่มีส่วนผสมของสาหร่ายก็มีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
.
☘️สาหร่ายสู่การเป็นพลังงานในอนาคต
สาหร่ายสามารถนำไปใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตโดยตรง
.
ซึ่งหมายความว่าสามารถให้ทางเลือกที่ยั่งยืนมากกว่าเชื้อเพลิงแบบฟอสซิลที่ผลิตคาร์บอน จากการวิจัยพบว่าสาหร่ายผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้มากถึง 5,000 แกลลอนจากเอเคอร์เดียวในหนึ่งปีแต่ข้อจำกัดคงเป็นเรื่องต้นทุนในการสกัดซึ่งยังราคาที่สูง ยังคงต้องใช้เวลาวิจัยและพัมนาหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพกว่านี้ในอนาคต
———————————————
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ช่องทางด้านล่างนี้ :
📲 FACEBOOK : ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab
📲 LINE OA : Baramizi_lab
———————–
ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab – องค์กรที่ทำหน้าที่จับตามองเทรนด์ที่น่าสนใจเพื่อภาคธุรกิจและจัดทำวิจัยเพื่อดูว่าผู้บริโภคคนไทยยอมรับเทรนด์ไหนมากที่สุด เพื่อให้ธุรกิจของท่านสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้กำหนดแนวทางการสร้างแบรนด์ตัวเอง หรือใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประสบการณ์สินค้าได้ต่อไป