INNOVATION UPDATE : Airborne wind energy พลังงานลมเหนือท้องฟ้า ปรับเปลี่ยนง่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  พลังงานลมเป็นพลังงานทางเลือกที่มีความยั่งยืนและได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้งกระบวนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ต่ำและทรัพยากรธรรมชาติอย่างกระแสลมที่แทบจะไม่มีวันหมดแต่ข้อเสียก็ยังมีอยู่เช่น บดบังทัศนียภาพ มลภาวะทางเสียง หรือการควบคุมความสม่ำเสมอของพลังงานเนื่องจากต้องใช้ความเร็วลมกว่า 21 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งอาจจะไม่เท่ากันตามแต่ฤดูกาล

  แต่เมื่อระยะห่างจากพื้นโลกขึ้นไป แรงลมจะมีความเสถียรและแรงกว่าลมที่อยู่ใกล้พื้นดิน ทำให้เป็นอีกโอกาสในการใช้พลังงานลมที่มีประสิทธิภาพมากกว่า จึงเกิดเป็นกระบวนการ Airborne wind energy (AWE) ที่ใช่แรงลมระดับสูง high-altitude wind power (HAWP) โดยทั่วไปจะอยู่เหนือพื้นดิน 300–600 เมตร ร่วมกับกลไกการรับพลังงานอย่าง ว่าว เครื่องร่อน อากาศยานขนาดเล็กต่างๆ ส่วนประกอบหลักๆจะประกอบด้วย
.

  • ตัวผลิตพลังงาน (electricity generation) ซึ่งจะอยู่บนพื้นดินหรือติดกับอุปกรณ์ไปบนอากาศก็ได้
  • ระบบการร่อนที่คล้ายกับการร่อนของว่าว (kite system) หรือการชักรอกเข้าและออกทำให้เกิดการผลิตพลังงาน
  • อุปกรณ์ในการจับแรงลม (device) มีด้วยกันหลายแบบเช่น ว่าว บอลลูน เครื่องร่อน เครื่องร่อนติกใบพัด หรือ ใบพัดขนาดใหญ่ที่ลอยบนอากาศ
  • ระบบควบคุมการบิน (flight operation) ที่เหมาะสมกับอุปกรณ์เช่น การลู่ไปกับกระแสลม การหมุน หรือการแกว่งไปมา
    การได้มาซึ่งพลังงานโดยส่วนมากจะเกิดจากการชักรอก เมื่อปล่อยตัว อุปกรร์จะลอยสูงขึ้นตามแรงลมและถูกดึงกลับมากระบวนการจะวนซ้ำเพื่อให้เกิดการสร้างกระแสไฟฟ้า แต่ปัจจุบันวิธีการถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อุปกรณ์บางตัวอย่างเช่นเครื่องร่อนสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เองจากใบพัดและส่งกลับมายังเครื่องเก็บผ่านสายเคเบิลที่ยึดตัวมันไว้หรือการออกแบบว่าวให้หมุนได้แล้วใช้แรงหมุนผ่านสายเคเบิลลงมายังเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการชักรอก
    ข้อดีของ Airborne wind energy คือมีขนาดเล็กและใช้อุปกรณ์น้อยกว่าการผลิตพลังงานจากลมแบบดั้งเดิม ต้นทุนที่ไม่สูงและมีความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายสามารถติดตั้งไปกับยานพาหนะขนาดใหญ่ได้เช่นเรือเดินสมุทร ข้อเสีย ผลิตกระแสไฟฟ้าได้น้อยและยังต้องมีการวิจัยและพัมนาเพื่อให้เกิดการแพร่หลายในการใช้งาน

    ขอบคุณที่มา :
    https://en.wikipedia.org/wiki/Airborne_wind_energyhttps://
    www.nrel.gov/docs/fy21osti/79992.pdf
    https://solarimpulse.com/solutions-explorer/enerkite-ek200?queryID=ef963f2841c16d441ab7192432b7f770
    https://www.behance.net/gallery/24106329/Airborne-Wind-Turbine-Visualizations

    ———————————————
    ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ช่องทางด้านล่างนี้ :
    📲 FACEBOOK : ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab
    📲 LINE OA : Baramizi_lab
    ———————–
    ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab – องค์กรที่ทำหน้าที่จับตามองเทรนด์ที่น่าสนใจเพื่อภาคธุรกิจและจัดทำวิจัยเพื่อดูว่าผู้บริโภคคนไทยยอมรับเทรนด์ไหนมากที่สุด เพื่อให้ธุรกิจของท่านสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้กำหนดแนวทางการสร้างแบรนด์ตัวเอง หรือใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประสบการณ์สินค้าได้ต่อไป