INNOVATION UPDATE : Regenerative Highrise แนวคิดโครงสร้างไม้ที่ปรับเปลี่ยนได้

แนวคิดโครงสร้างไม้ที่ปรับเปลี่ยนได้ เกิดจาก บริษัทด้านวิศวกรรม Ramboll และ สตูดิโอสถาปัตยกรรม Haptic โดยจำลองในเขตเมืองในออสโล ประเทศนอร์เวย์

“Regenerative Highrise แนวคิดโครงสร้างไม้ที่ปรับเปลี่ยนได้ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของการก่อสร้างตึกสูง”

.
ภาพที่เราเห็นจนชินตาในบริบทสังคมเมืองการจราจรที่แออัด มลภาวะทางอากาศ หนึ่งในนั้นคือบรรดาตึกสูงต่างๆ ด้วยปัจจัยของประชากรที่หนาแน่นบวกกับราคาที่ดินที่สูงขึ้น การหาพื้นที่แนวตั้งจึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์สังคมเมืองในปัจจุบัน แต่ด้วยในหลายปีที่ผ่านมาโลกต้องเจอกับ
ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น ความสมบูณร์ทางธรรมชาติที่ถดถอยจากภาวะโลกร้อน
.
 ความปกติใหม่ของผู้คนที่เกิดจากการแผร่ระบาดของ
โควิด-19 สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบกับการเกิดโครงการตึกสูงต่างๆ การไม่ปรับตัวให้อยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลง ทำให้อาคารเหล่านั้นได้รับการใช้งานที่น้อยลงจนไปถึงถูกปล่อยให้ทิ้งร้างและโดนรื้อถอนในเวลาต่อมา
.
จากความท้าทายที่เกิดขึ้นเราขอยกตัวอย่าง innovationที่อาจจะช่วยทำให้การสร้างพื้นที่แนวตั้งขนาดใหญ่ตอบโจทย์กับปัจจุบันนั้นคือ “แนวคิดโครางสร้างไม้ที่ปรับเปลี่ยนได้”
.
 “แนวคิดโครางสร้างไม้ที่ปรับเปลี่ยนได้” เกิดจาก
บริษัทด้านวิศวกรรม Ramboll และ สตูดิโอสถาปัตยกรรม Haptic โดยจำลองในเขตเมืองในออสโล ประเทศนอร์เวย์
.
ตึกสูงโครงสร้างไม้เกิดจากแนวคิดที่ว่า ถ้าหากความต้องการมีอยู่ตลอด การรื้อถอนก็ไม่เกิดขึ้น ทำให้การใช้งานของตึกเป็นแบบ มิกซ์ยูส (Mixed-use) การก่อสร้างใช้แนวคิดการแยกส่วน (modular logic) ในหนึ่งชั้นใหญ่จะสามารถใส่ชั้นกั้น(flexible pods) ได้สามชั้นทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทำให้เกิดการแบ่งชั้นย่อยตามการใช้งานหรือความสะดวกต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
.
การก่อสร้างด้วยไม้ถือเป็นเทรนด์อย่างมากในยุโรป
จากงานวิจัยของ Council on Tall Buildings and Urban Habitat ได้แบ่งประเภทการก่อสร้างไม้ไว้ 4 แบบคือ
🔹All-Timber
🔹Timber-Concrete Hybrid
🔹Timber-Concrete-Steel Hybrid
🔹Timber-Steel Hybrid
การก่อสร้างแบบ All-Timber เป็นที่นิยมมาโดยตลอด แต่จะมีช่วงปี 2020-2022 ที่ไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 แต่คาดการณ์ว่าในปี 2023 จะได้รับความนิยมกลับเกือบเท่าเดิม
.
ข้อดีของวัสดุไม้นอกจากเป็นวัสดุที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ยังสามารถดูดซับและกักเก็บคาร์บอนโดยการใช้ไม้หนึ่งลูกบาศก์เมตรสามารถดูดซับ C02 ได้ 0.8 ตัน นอกเหนือจากประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม สถานที่ก่อสร้างที่สร้างด้วยไม้จะส่งเสียงรบกวนรวมถึงการสร้างขยะและมลพิษได้ดีกว่าสถานที่ก่อสร้างทั่วไป

อ้างอิงโดย:

https://ramboll.com/…/timber-is-the-sustainable-future

————————————————————————————–

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ช่องทางด้านล่างนี้ :
📲 FACEBOOK : ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab
📲 LINE OA : Baramizi_lab
———————–
ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab – องค์กรที่ทำหน้าที่จับตามองเทรนด์ที่น่าสนใจเพื่อภาคธุรกิจและจัดทำวิจัยเพื่อดูว่าผู้บริโภคคนไทยยอมรับเทรนด์ไหนมากที่สุด เพื่อให้ธุรกิจของท่านสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้กำหนดแนวทางการสร้างแบรนด์ตัวเอง หรือใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประสบการณ์สินค้าได้ต่อไป