Trend Fast Track: The Era of ‘New Business Model’ ยินดีต้อนรับสู่ยุคที่รูปแบบธุรกิจไม่ได้ซ้ำซากจำเจอีกต่อไป

โลกยุคใหม่ที่ไม่ใช่ ‘ปลาเล็กกินปลาใหญ่’ แต่เป็นยุคของ ‘ปลาไวกินปลาช้า’ รูปแบบธุรกิจแบบเดิมที่คิดว่าไปไม่ไหว จะอยู่รอดอย่างไรถ้าไม่ปรับตัว

🔥Trend Fast Track 🔥ประจำสัปดาห์นี้ขอเสนอหัวข้อเทรนด์เรื่อง : 

” The Era of ‘New Business Model’ ” (ยินดีต้อนรับสู่ยุคที่รูปแบบธุรกิจไม่ได้ซ้ำซากจำเจอีกต่อไป)

เทรนด์โลกที่ว่องไว พลันทำให้การทำธุรกิจที่เรียบเฉยหรือหยุดนิ่ง ไม่สามารถขับเคลื่อนอย่างยั่งยืนได้อีกต่อไป เจ้าของธุรกิจหลายรายคงไม่คิดว่าของที่เคยได้อย่างต่อเนื่องจะถูกแทรกแซง (Disrupt) จนล้มหายตายจากไปแล้วหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เราคุ้นเคยอย่างโรงภาพยนตร์ ก็ต้องปรับตัวเพราะทุกวันนี้เรามี NetFlix อยู่ในมือเรา หรือกล้องฟิล์มชื่อก้องอย่าง Kodak ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับยุคที่กล้องดิจิตอลครองโลก … และทุกวันนี้ แม้แต่กล้องดิจิตอลเองก็ใช่ว่าจะอยู่รอด เมื่อเราสามารถมีกล้องดิจิตอลระดับเทพได้ในมือของเรา อย่างที่ Huawei เพิ่งออกรุ่นใหม่ล่าสุด P30 Pro ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับวงการมือถือ และวงการกล้องไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นี่อาจจะเป็นสัญญาณที่บอกว่าโลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่ธุรกิจเองจะต้องพร้อมที่จะปรับตัวก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการแสวงหารายได้

เราอาจจะคุ้นเคยกับกลยุทธ์การขายที่ตรงไปตรงมา โครงสร้างรายได้ของบริษัทส่วนใหญ่ก็เกิดจากการสร้างสินค้าและบริการ (Supply) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค (Demand) แต่ในเมื่อความต้องการของผู้บริโภค ถูกผนวกเข้ากับเทคโนโลยีต่างๆ บีบให้โลกเล็กลง เราอาจจะอ่านหนังสือโดยที่ไม่จำเป็นต้องอ่านจากกระดาษ โซฟาที่คุณใช้ในบ้านไม่จำเป็นต้องซื้อมาอย่างถาวร หรือแม้แต่เครื่องปรุงรสที่เคยใช้ในครัวเรือน ก็ถูกสร้างเรื่องราว (Story) และคุณค่า (Value) ให้มากกว่าการเป็นแค่ซอสด้วยการก้าวสู่ Application ในมือถือของคุณ เหล่านี้คือเรื่องเราเกริ่นนำเพื่อพาคุณเข้าสู่ The Era of ‘New Business Model … Trend Fast Track ประจำสัปดาห์นี้ครับ

1.[อังกฤษ] Pay It Forward : แนวคิดใหม่ในการขายนิตยสาร สู่การเป็นผู้ให้ … ที่ให้มากกว่าเดิม โดยไม่เพิ่มต้นทุน

The Big Issue ผู้ผลิตนิตยสารเจ้าหนึ่งในประเทศอังกฤษที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ.1991 ผุดแนวคิดใหม่ร่วมกับ Monzo ธนาคารในประเทศ ออกแคมเปญ Pay It Forward เพื่อสร้างรูปแบบการขายใหม่ๆ ที่แตกต่างอย่าง ‘สร้างสรรค์’ และสะท้อนเจตนารมณ์ดั้งเดิมขององค์กรให้ยั่งยืนมากกว่าเดิม

แนวคิดของ The Big Issue นั้น แต่เดิมถูกออกแบบให้สนับสนุนการขายที่เอื้อต่อ ‘ผู้ขายตามท้องถนน’ กล่าวคือ บ้างก็เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย หรือบ้างก็เป็นกลุ่มคนไร้บ้าน ได้รับโอกาสในการสร้างรายได้จากการเป็นผู้ค้า โดยที่ The Big Issue นั้นมีราคาจำหน่ายอยู่ที่เล่มละ 2.50 ปอนด์ ในขณะที่บริษัทขายให้กับกลุ่มผู้ค้าเหล่านี้ ในราคาเพียง 1.25 ปอนด์เท่านั้น และจากอุดมการณ์ดังกล่าว ทำให้สร้างรายได้ให้กับผู้ค้าที่เดินจำหน่ายตามที่สาธารณะไปแล้วกว่า 92,000 คน

โดยล่าสุด Monzo หนึ่งในธนาคารของประเทศอังกฤษก็เข้ามาร่วมทำแคมเปญ Pay It Forward เพื่อร่วมกันออกแบบโครงสร้างรายได้แบบใหม่ นั่นก็คือ การจำหน่ายในรูปแบบ Digital Copy ผ่าน QR Code และชำระเงินได้ในรูปแบบที่สอดคล้องกับ Lifestyle คนยุคใหม่ในปัจจุบัน คือ Cashless Society

แนวคิดนี้ ความน่าสนใจก็คือ หากคุณเป็นคนแรกที่ซื้อนิตยสารฉบับปกติจากผู้ขายมาแล้ว เมื่อคุณพบปะกับเพื่อนฝูงที่มีความสนใจใน The Big Issue เหมือนกัน และสะดวกที่จะอ่านในรูปแบบ Digital Copy คุณก็แค่เพียงให้เพื่อนของคุณสแกน QR Code และจ่ายเงิน 2.50 ปอนด์ในระบบ รายได้ครึ่งหนึ่งจะถูกแบ่งกลับไปให้กับผู้ขายแรกเริ่ม ส่วนอีกครึ่งหนึ่งก็กลับไปที่ The Big Issue เรียกได้ว่า ผู้ขายที่อาจจะเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย ก็จะได้รับเงินเพิ่มมากขึ้นจากการส่งต่อของคุณ

ความน่าสนใจของแคมเปญนี้ สะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบแนวคิดทางธุรกิจใหม่ๆ สามารถทำให้โลกของเราสวยงามยิ่งขึ้นและยั่งยืนมากขึ้น แถมยังใช้ชีวิตได้ง่ายดายยิ่งขึ้นอีกด้วย เพราะ The Big Issue เองก็มีโอกาสในการขายที่มากขึ้น ในขณะที่ต้องจัดพิมพ์ในรูปเล่มด้วยจำนวนที่เท่าเดิม ผู้ค้าก็ได้รับผลกำไรมากขึ้นจากการส่งต่อในรูปแบบ Digital Copy หรือแม้แต่ Monzo เองก็ได้รับประโยชน์จากการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ในยุคที่ธนาคารต่างๆ ทั่วโลก ก้าวเข้าสู่ Era of Cashless

Credit: https://www.lsnglobal.com/news/2019-04-04

https://wersm.com/the-big-issue-becomes-worlds-first-resellable-magazine/ 

https://eandt.theiet.org/content/articles/2019/04/the-big-issue-trials-resellable-magazines/ 

https://lbbonline.com/news/the-big-issue-creates-the-worlds-first-resellable-magazine-with-pay-it-forward-campaign/ 

————

2.[ไนจีเรีย] Wecyclers ธุรกิจรีไซเคิลที่ไม่เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือการช่วยเหลือสังคม

Wecyclers เจ้าของธุรกิจรีไซเคิล สร้างโอกาส เพิ่มรายได้ให้กับประชาชนด้วยแนวคิดใหม่

เป็นที่รู้กันว่า ธุรกิจรีไซเคิลนั้นก็คือการแสวงหารายได้จากการรวบรวมขยะและสิ่งเหลือใช้ที่สามารถนำไปเข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อย่อยสลายและผลิตซ้ำ ดังนั้น เป้าประสงค์คือการดำเนินธุรกิจโดยแสวงหารายได้จากการสร้างผลกำไรจากส่วนต่างในการดำเนินงาน กับรายรับและกำไรจากสิ่งที่ถูกผลิตขึ้นใหม่จากสิ่งของรีไซเคิล และจะดีกว่าหรือไม่ ถ้าธุรกิจของคุณได้ตอบแทนสังคมไปพร้อมๆ กัน

ประเทศไนจีเรียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ประสบปัญหาขยะล้นเมือง และแน่นอนว่าส่วนใหญ่ขาดการปลูกฝังในเรื่องของการแยกขยะ หรือนำขยะที่เกิดขึ้นไปสร้างรายได้ ส่วนใหญ่จึงตกไปเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่เก็บขยะเหล่านั้น ส่วนประชาชนก็ยังคงใช้ชีวิตที่อัตคัด จากระดับรายได้ที่ค่อนข้างน้อย Wecyclers จึงสร้างแนวคิดใหม่ ให้คนในชุมชนรวมกลุ่มกันเพื่อคัดแยกขยะ และนำขยะที่ไปขายให้กับบริษัท เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน ก่อให้เกิดรายได้ ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ลดลง ไม่จำเป็นต้องปล่อยให้ ‘ขยะที่มีมูลค่า’ ตกไปเป็นของภาครัฐอีกต่อไป

Credit: https://www.africanews.com/2019/03/22/climate-action-lagos-based-wecyclers-wins-african-development-prize-201819/ 

————

3.[ยุโรป] New way of IKEA จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า IKEA ไม่ ‘ขาย’ แต่ให้ ‘เช่า’ แทน

IKEA เปิดบริการใหม่ให้ ‘เช่า’ เพื่อความยั่งยืน

IKEA บริษัทยักษ์ใหญ่จากแถบสแกนดิเนเวียที่มีชื่อเสียงจากการขายเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้านหลากหลายชนิด นำเสนอบริการใหม่ที่แก้ปัญหาความสูญเสียโดยใช่เหตุจากเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ได้ใช้งาน และกลายเป็นขยะจากครัวเรือนภายหลังจากคุณค่าของมันลดลง สะท้อนให้เห็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ตระหนักกันอย่างมากในปัจจุบัน

แนวคิดนี้จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ไปพร้อมๆ กัน คือ จากเดิมที่ต้องซื้อโต๊ะ ตู้ เตียง โซฟาชิ้นมหึมาเข้ามาในบ้าน แล้วก็ต้องมานั่งกังวลเวลาที่จะย้ายบ้าน ย้ายหอว่าจะขนไปยังไง หรือเอาไปทิ้งยังไง กลายเป็นว่า คุรลูกค้าแค่เพียงไปที่ IKEA เลือก ‘เช่า’ เฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการ และเมื่อใช้งานจนพึงพอใจแล้วก็เพียงแค่ส่งคืนให้กับ IKEA และบริษัทก็จะนำไปปรับปรุงเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับเช่าอีกครั้ง จนกว่าจะไม่สามารถซ่อมแซมแก้ไขได้แล้ว จึงจะนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลในลำดับต่อไป

เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า IKEA ไม่เพียงแต่จะคิดเพื่อความยั่งยืนของโลกเท่านั้น แต่ถือว่าได้อุดรอยรั่วหลายๆ อย่างที่ทำให้เกิดรายได้ในรูปแบบใหม่ เช่น ลูกค้าอาจจะมีกำลังทรัพย์ไม่พอในการ ‘ซื้อ’ แต่สามารถ ‘เช่า’ แทนได้ ก็ทำให้รายได้ที่เคยหายไป กลับมาสู่บริษัทได้เหมือนเดิม ในขณะที่ลูกค้าเองก็ไม่ต้องมานั่งกังวลกับ ‘ขยะ’ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อถึงเวลาที่เฟอร์นิเจอร์ตัวเก่งหมดประโยชน์ในภายหลัง เป็นสถานการณ์ที่ Win-Win situation และหากได้รับการตอบรับที่ดี IKEA เองก็มีแนวคิดจะขยายรูปแบบบริการนี้ไปในสาขาต่างๆ ทั่วโลกในอนาคตต่อไป

Credit: https://www.thedrum.com/news/2019/04/04/ikea-explores-furniture-subscription-service-sustainability-drive 

gettyimages-1048868432-e1549371702502.jpg 

————

4.[ไทย] Availabel and Made By TODD เมื่อซอสต๊อดจะไม่ใช่แค่ซอส เพราะต๊อดไม่ได้ขายแค่ซอส แต่ซอสต๊อดจะพาลูกค้าซอสไปสู่โลกใหม่ในมือคุณ

Made By TODD ซอสพริกพริก เปิดตัวบริการใหม่ในแอปพลิเคชั่นมือถือ Availabel

แน่นอนว่า มาถึงนาทีนี้ สายกินทั่วไทยน่าจะไม่มีใครที่ไม่รู้จักซอสพริกพริก ซอสที่คนรุ่นใหม่ถูกใจในรสชาติที่จัดจ้านและแตกต่างจากซอสพริกทั่วไป จนใครๆ ต่างก็เรียกกันว่า ‘ซอสต๊อด’ ซึ่งคุณต๊อด (ปิติ ภิรมย์ภักดี) ก็ได้ขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ไปแล้วในเบื้องต้น ทั้งหนังปลาแซลมอนทอดกรอบรสซอสต๊อด กล้วยหอมทองทอดกรอบรสซอสต๊อด รวมไปถึงซอสต่างๆ อีกมากมายกว่า 5 ชนิด ทำให้แบรนด์ Made By TODD มีความหลากหลายและเพิ่มโอกาสในการขายได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลิตภัณฑ์บางประเภทของ Made By TODD ก็เหมาะกับการเป็นกับแกล้มในโอกาสที่สังสรรค์และอาจจะบริโภคเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ในเครือของบุญรอดหรือแบรนด์ตราสิงห์ที่ตระกูลภิรมย์ภักดีเป็นเจ้าของอีกด้วย

แต่ล่าสุด ได้มีการเปิดตัวแอปพลิเคชัน Availabel เพื่อเป็นช่องทางในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ Made By TODD ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ผสานเข้ากับการแนะนำสูตรอาหารเมนูอร่อยที่ใช้ซอสของ Made By TODD ในการปรุง รีวิวร้านอาหารทั่วฟ้าเมืองไทย อีกทั้งยังสามารถร่วมสนุกกับกิจกรรมต่างๆ ที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง และแน่นอนที่สุด คือ ผู้ใช้งานสามารถสั่งผลิตภัณฑ์ของ Made By TODD ให้มาส่งถึงบ้านได้ง่ายดาย เรียกได้ว่าครบจบในแอปเดียวจริงๆ

ความน่าสนใจของการขยับของบุญรอดกับ Made By TODD ในครั้งนี้ สอดคล้องกับรูปแบบทางธุรกิจที่หลายแบรนด์ก็เลือกใช้แอปพลิเคชั่นในการนำเสนอสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเครือ Minor Group ที่รวมบริการของร้านอาหารในเครือทั้งหมดมาไว้ในแอปพลิเคชันเดียว หรือแม้แต่ Central Restaurant Group หรือ CRG ก็ใช้โอกาสในการที่เครือเซ็นทรัลเข้าซื้อหุ้น Grab นำแอปพลิเคชั่นยอดนิยมในการจัดส่ง มาเป็น Hub รวมร้านอาหารในเครือไว้ในแอปฯเดียวเช่นกัน

Credit: https://www.marketingoops.com/news/biz-news/availabel-app-by-made-by-todd/ 

todd-food-fest-made-by-todd-on-tour-event-33.jpg 

🔥 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน 🔥 โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคตและการออกแบบ เราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launch ออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์