The Future Trend of Aging Society 2020-21 งานวิจัยเทรนด์ประจำปี 2562 โดยศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต และ รศ.ดร.ณัฐพล อัสสะรัตน์

Aging สำคัญแค่ไหนต่อภาคธุรกิจ

ชุดข้อมูลวิจัยเทรนด์หัวข้อ The FutureTrend of Aging Society 2021-22 ฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต และ รศ.ดร.ณัฐพล อัสสะรัตน์ เพื่อค้นหาคำตอบของโอกาสแห่งอนาคตในเรื่องราวที่เป็น Mega Trend สำคัญของโลกเพื่อสร้างคลังความรู้ความเข้าใจใน Insight ของผู้บริโกคและคลังไอเดียของโอกาสใหม่ทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย  และจาก World Key Impact ผลกระทบที่เกิดขึ้นรอบโลกที่ภาคธุรกิจต้องรู้…..

เรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นรอบตัวเราทุกวันทั้งการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม (Social) เทคโนโลยีใหม่ๆ (Technology) ระบบเศรษฐกิจ (Economy) สิ่งแวดล้อม (Environment) และการเมือง (Political) ในผลกระทบภาพย่อยๆ ในแต่ละปีนั้นมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย แต่หากพิจารณาในภาพกว้างเราพบผลกระทบในระดับ World Key Impact ที่ต้องคอย Monitor อย่างต่อเนื่อง 8 กลุ่มด้วยกัน

(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.baramizi.co.th/trend/world-key-impact/)

ในปีนี้ Future Lab หยิบยกแนวโน้มด้าน Demographic Movement อันสำคัญที่ทั้งโลกกำลังจับตามอง Aging Society มาเจาะลึกทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลง ข้อเท็จจริง ความต้องการ จุดเจ็บปวด และไอเดียสร้างสรรค์ทางธุรกิจที่สดใหม่ ไม่ใช่เพียงแค่เพราะมีโอกาสที่น่าสนใจซ่อนอยู่เท่านั้น…แต่เพราะอนาคตมันจะเป็นไฟลท์บังคับที่ต้องมีธุรกิจที่ทำหน้าที่ดูแลพวกเขา (และพวกเราในอนาคต) เพราะพวกเขาจะมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกในระยะเวลาอันใกล้นี้นั่นเอง

Overview of Aging Society in the World

องค์การสหประชาชาติได้เปิดเผยรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุโลกว่า ปัจจุบัน 1 ใน 9 ของประชากรโลกมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 5 ภายในปีค.ศ. 2050 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) คาดการณ์เป็นตัวเลขผู้สูงอายุทั่วโลกที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเป็น 2 พันล้านคน หรือร้อยละ 22 ทั้งนี้แต่ละประเทศจะเข้าสู่สาวะสังคมผู้สูงอายุช้าเร็วไม่เท่ากันขึ้นกับความเจริญมั่งคั่ง ทางศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ การสุขาภิบาล การโภชนาการ ตลอดจนการศึกษา โดยการคาดการณ์เป็นไปดังแผนภาพด้านล่างนี้

ในปี ค.ศ. 2050 แอฟริกาจะมีผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 10 ในขณะที่เอเชีย อเมริกาเหนือ และยุโรปเป็นร้อยละ 24, 27 และร้อยละ 34 ตามลำดับ ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีโอกาสเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุก่อนประเทศที่กำลังพัฒนา อย่างไรก็ตามประเทศที่กำลังพัฒนากลับใช้เวลาสั้นกว่าในการเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์* ซึ่งประเทศไทยนับเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีช่วง การเปลี่ยนถ่ายจากสังคมผู้สูงอายุ สู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เร็วที่สุด ปัจจุบันประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด** แล้วประกอบด้วย ญี่ปุ่น (ประเทศแรกของโลก) อิตาลี เยอรมนี สวีเดน และจะตามมาด้วยฝรั่งเศสและอังกฤษ ที่จะตามมาในปี 2020 และ 2021 ตามลำดับ ส่วนอเมริกาและเกาหลีจะเข้าถึงในปี 2028 และ 2026 ตามลำดับ ประเทศเหล่านี้เหมือนเป็นหัวขบวนที่เราสามารถศึกษาการออกแบบนโยบายรัฐ การรวมกลุ่ม และการสร้างธุรกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อดูแลคนรุ่นใหญ่เป็นต้นแบบในการดำเนินงานของเราได้บางส่วน

เมื่อเปรียบเทียบในเอเชียประเทศเรียงอันดับ การมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ ได้แก่ อันดับ 1 ญี่ปุ่น อันดับ 2 เกาหลี อันดับ 3 สิงคโปร์ อันดับ 4 ประเทศไทย และอันดับที่ตามมาคือเวียดนาม ตารางแสดงสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุในเอเชีย

* สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด

** สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super-aged Society) มีประชากรผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด

จากรายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ชี้ให้เห็นว่าการเข้าสู่แต่ละช่วงของสังคมผู้สูงอายุไทย เป็นดังนี้

  • ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ค.ศ. 2004-2005
  • ขยับเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ค.ศ. 2024-2025
  • ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ระดับสุดยอด (Super-aged Society) ค.ศ. 2032

Thailand Aging Society Segmentation

จากงานวิจัยเรื่องผลกระทบของการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมของผู้บริโภคระดับโลกต่อรูปแบบการบริโภคของผู้สูงอายุยุคใหม่ในกรุงเทพมหานคร โดยรองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพล อัสสะรัตน์ และคณะ (สิงหาคม 2562)  ที่ทำการศึกษากลุ่มคนรุ่นใหญ่ช่วงอายุ 56 – 69 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถแบ่ง Segmentation ของกลุ่มคนวัยเก๋านี้ได้เป็น 5 กลุ่มด้วยปัจจัยทางทัศนคติในการใช้ชีวิตและระดับของทรัพย์สินส่วนตัวได้ ดังภาพด้านล่าง

1. New Age Elder

“รักการเรียนรู้ชอบลองสิ่งใหม่ ควบคุมชีวิตตัวเองได้”

วัยเก๋ากลุ่มนี้จะตระหนักรู้ในตัวเองว่าตอนนี้กำลังทำอะไรอยู่ มีความสุขด้านการจับจ่ายซื้อของ มั่นใจกับการตัดสินใจด้านต่างๆ มีความคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอังกฤษและการเดินทางต่างประเทศ สามารถเรียนรู้ เปิดรับ และปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมต่างชาติที่มีความเป็นสากลได้ง่าย มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 14 ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะทำงานระดับหัวหน้างานและผู้บริหารระดับสูง มีทรัพย์สินถือครองไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 20 ล้านบาท

2. Controller Aged

“รู้สึกมีความสามารถในการควบคุมชีวิต ไม่ได้สนใจเรียนรู้หรือปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่”

วัยเก๋ากลุ่มนี้จะคล้ายกับกลุ่ม New Age คือ มีการศึกษาสูง มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงในอดีต มีทรัพย์สินมาก และมีศักยภาพในการเข้าถึงวัฒนธรรมสากล แต่จะต่างที่ทัศนคติในการใช้ชีวิตด้านการเรียนรู้และปรับตัว แต่ยังเป็นคนที่ชื่นชอบการจับจ่ายใช้สอย ชอบการแต่งตัวที่ทันสมัย อีกทั้งยังไม่ยอมรับที่จะต้องได้รับอิทธิพลจากคนรอบข้าง แต่ลึกๆ แล้วก็ยังไม่ค่อยมีความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้า และไม่ได้พึงพอใจในชีวิตที่เป็นอยู่ซะทีเดียว มีสัดส่วนร้อยละ 14.83 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

3. Senior Aspirer

“วันเก๋าระดับกลาง ชื่นชอบการจับจ่ายและการแต่งตัวตามสมัยนิยม แต่ไม่ชอบการเรียนรู้และลองสิ่งใหม่”

เป็นกลุ่มวัยเก๋าที่มองว่าตนมีความรู้รอบด้าน สามารถควบคุมสิ่งที่เกิดในชีวิตได้ชื่นชอบการจับจ่ายใช้สอย ชอบการแต่งกายที่ทันสมัย ไม่ชอบการเรียนรู้และลองสิ่งใหม่ ไม่ยอมรับอิทธิพลจากคนรอบข้างจากคนรอบข้างหรือเพื่อนฝูงเท่าไรนัก เนื่องจากทรัพยากรและการใช้ชีวิตที่สวนทางกันทำให้วัยเก๋ากลุ่มนี้ ไม่มีความพึงพอใจในการใช้ชีวิต กลุ่มนี้มีสัดส่วนร้อยละ 26.58 ระดับการศึกษา กระจายตัวตั้งแต่ระดับประถมศึกษา-มัธยมปลาย และปัจจุบันก็ยังคงทำงานอยู่ มีสินทรัพย์ถือครองไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือระหว่าง 1-5 ล้านบาท

4. Life-embraced Elder

“วัยเก๋าระดับกลาง ชื่นชอบการใช้ชีวิตที่เป็นอยู่แต่ก็มีความสนใจที่จะเรียนรู้และลองสิ่งใหม่”

วัยเก๋ากลุ่มนี้คล้ายกับกลุ่มที่ 3 มีระดับการศึกษาและทรัพย์สินระดับกลาง และมีระดับการซึมซับวัฒนธรรมระดับโลกที่ไม่สูงนัก มีความสนใจที่จะเรียนรู้และลองสิ่งใหม่ ชื่นชอบการใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมๆ ไม่นิยมการการจับจ่าย สนใจการพบปะเพื่อนฝูงและได้รับอิทธิพลจากเพื่อนฝูง กลุ่มนี้มีสัดส่วนมากที่สุด คือ ร้อยละ 34.67 เนื่องจากมีการบริโภคที่สอดคล้องกับรายได้ที่มีทำให้วัยเก๋ากลุ่มนี้มีความพึงพอใจในชีวิตสูงที่สุด

5. Unprepared Elder

“วัยเก๋าที่ขาดการเตรียมตัว มีความต้องการในการเรียนรู้ และลองสิ่งใหม่ แต่คิดว่าตนเองไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้”

วัยเก๋ากลุ่มนี้มีความต้องการเรียนรู้และลองสิ่งใหม่ และมีความมั่นใจในการตัดสินใจซื้อของ หากแต่ยังคิดว่าตนเองไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ ไม่เน้นการจับจ่าย ไม่แน่ใจว่าตัวเองควรจะทำอะไรหรือตัดสินใจเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับตัวเอง จึงมีการพบปะเพื่อนฝูงหรือได้รับอิทธิพลจากเพื่อนฝูงอยู่บ้าง เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องทรัพยากรที่มีอยู่จึงทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีความพึงพอใจในชีวิตที่ไม่สูงมากนัก โดยกลุ่มนี้มีสัดส่วนในงานวิจัยนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 9.92* เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างอื่นๆ แล้วมีระดับการศึกษาค่อนข้างต่ำส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ฟรีแลนซ์ หรือค้าขายทั่วไป มีมูลค่าทรัพย์สินที่ถือครองอยู่ไม่เกิน 1 ล้านบาท 

*กลุ่ม Unprepared Eder สัดส่วนในความจริงผู้วิจัยเชื่อว่าจะมีมากกว่านี้แต่ด้วยข้อจำกัดของวิธีวิจัยอาจทำให้พบในสัดส่วนที่น้อยกว่าความเป็นจริง

จากการแบ่งกลุ่มวัยเก๋าและเรียนรู้พวกเขาในด้านระดับการซึมซับวัฒนธรรมโลกที่ส่งผลต่อทัศนคติและการใช้ชีวิตของพวกเขาจากผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าระดับความสุขและความพึงพอใจในชีวิตของพวกเขาในแต่ละกลุ่มไม่เท่ากัน และบางกลุ่มมีผลลัพธ์ต่ำมาก ทีมวิจัย Baramizi Lab และรศ.ดร.ณัฐพลจึงวิเคราะห์ร่วมกันจากข้อมูลเชิงลึกและข้อมูลการศึกษากรณีศึกษาของธุรกิจที่ถูกสร้างสรรค์มาเพื่อตอบโจทย์วัยเก๋าทั่วโลกจำนวนมากในรอบปีที่ผ่านมา พบแนวโน้มหรือเทรนด์หรือในการสร้างสรรค์ธุรกิจหรือออกแบบประสบการณ์สำหรับวัยเก๋าที่น่าสนใจและมีโอกาสตอบโจทย์วัยเก๋าประเทศไทยทั้งหมด 7 เทรนด์ด้วยกัน ประกอบด้วย

The Future Trend of Aging Society 2020-21

 ภาพแสดงเทรนด์ทั้ง 7 ข้อจัดตำแหน่งตามความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีหรือไม่ และการนำเสนอคุณค่าทางอารมณ์หรือมุ่งเน้นที่ฟังก์ชั่น

ข้อมูลวิจัยเทรนด์ The Future Trend of Aging Society 2020-21 ที่ทำหน้าที่ชี้ให้เห็นโอกาสใหม่ที่สอดรับกับ Insight ของกลุ่มเป้าหมายในประเทศไทย เมื่อความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่คือสิ่งจำเป็นสำคัญธุรกิจในยุค 4.0 ข้อมูลวิจัย Insight ที่เจาะลึกให้เห็นถึงความต้องการที่ซ่อนเร้น (Unmet Needs) และข้อมูลวิจัยเทรนด์จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ขององค์กรธุรกิจอย่างยั่งยืน

(ท่านมาสามารถซื้อข้อมูลเชิงลึกได้ที่ Trend Book Shop)

ตัวอย่างของผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Aging Society มาแบ่งปันประสบการณ์ 

ภายในงาน Future Lab Forum 2019 ครั้งที่ 2 นี้ เราได้เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงกับผู้สูงวัย มาแบ่งปันประสบการณ์จากการได้ลงมือสัมผัสกับกลุ่มเหล่านี้ ได้แก่

1. ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) (ซ้ายสุด) โดยท่านได้เล่าถึงผลงานการทำงานด้าน Health Tech ในวงของนักวิจัยไทยทำให้เกิดนวัตกรรมเข้ามาช่วยดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทย เช่น โครงการรากฟันเทียม Application ฝึกสมอง หรือโรบอตผู้ช่วยในการจ่ายยา และโครงการสำคัญที่จะเปิดตัวในปลายปีนี้คือ Medicopolis ที่เชียงใหม่ คือเมืองแห่งสุขภาพที่เกิดจากการบูรณาการกันของภาคีที่ให้บริการด้านสุขภาพในย่านทั้งหมดเข้ามาสู่การดูแลลูกค้าแบบครบวงจร ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ TCELS และนักวิจัยไทยหลายชีวิตร่วมกันวิจัยและพัฒนาเพื่อเป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทย ซึ่งมุมมองของดร.นเรศ คือ สังคมผู้สูงอายุไม่ได้หมายความถึงสังคมที่มีแต่ผู้สูงอายุ แต่มันคือ “สังคมประสาน” ที่ทุกวัยต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข จุดนี้เองคือตัวที่จุดประกายและทำให้ TCELS สนใจที่จะเข้ามาร่วมแก้ปัญหาสังคมในประเด็นนี้

2. คุณสักกฉัฐ ศิวะบวร กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิ๊กสไมล์เวิลด์ จำกัด (ท่านที่ 2 จากซ้าย) จากประสบการณ์การทำธุรกิจ Exhibition ประกอบกับที่จับตาแนวโน้มของ Mega Trend  ด้าน Aging Society มาตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา คุณสักกฉัฐมองว่าถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรจะมีแพลตฟอร์มที่เข้ามาตอบโจทย์การเชื่อมโยงกลุ่มคนรุ่นใหญ่เข้ากับสินค้าและบริการที่เหมาะกับพวกเขา จึงก่อตั้ง Big Smile World แพลตฟอร์มเพื่อความสุขของคนรุ่นใหญ่ ซึ่งจะเชื่อมโยงทั้งออนไลน์และออฟไลน์และเครือข่ายต่างประเทศเพื่อสร้างสังคมแห่งความสุขตรงนี้ร่วมกัน โดยคุณสักกฉัฐได้เสนอแนวคิด 2 ส่วนที่สำคัญ หนึ่งคือความเป็นคนรุ่นใหญ่ที่ไม่ได้วัดกันที่อายุแต่มีตัวชี้วัดคือการเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านทัศนคติ และด้านพฤติกรรม เปลี่ยนเพื่อใส่ใจและดูแลตัวเองมากขึ้น และสองคือแนวคิดของความสัมพันธ์ระหว่าง “คนรุ่นใหญ่” และ “คนรุ่นใหม่” ที่เอกลักษณ์ของสังคมไทยที่ยึดโยงทั้งสองรุ่นเข้าด้วยกันด้วยคำว่า “กตัญญกตเวที” เป็นหัวใจสำคัญที่ Big Smile World จะเป็นแบรนด์ที่ออกแบบมาเพื่อพูดคุยกับทั้งสองกลุ่มรวมถึงทำงานร่วมกันเพื่อให้ผลักดันให้ความสุขของคนรุ่นใหญ่เกิดได้จริง

3. คุณนฎา ตันสวัสดิ์ Co-Founder&CMO YoungHappy (ท่านที่ 2 จากขวา)  และ 4.คุณธนากร พรหมยศ Co-Founder&CEO YoungHappy (ขวาสุด) Social Enterprise (SE: กิจการเพื่อสังคม) 2 คนรุ่นใหม่ที่มีหัวใจมุ่งมั่นอยากแก้ไขปัญหาสังคม จึงมองหา Pain Point เล็กๆ รอบตัวจนกลายมาเป็น YoungHappy Issue เล็กๆ ใกล้ตัวที่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมจนวันนี้จากจุดเล็กๆ นั้นได้กลายเป็น Passion ที่ยิ่งทำยิ่งมีความสุข ภารกิจของ YoungHappy คือการยืดช่วงเวลาของ Active Aging ของวัยเก๋าให้ยาวนานที่สุด ทั้งสองคนได้แบ่งปันประสบการณ์การลองผิดลองถูกด้วยตัวเองเรียนรู้จากการทำงานเป็นจิตอาสาทำความเข้าใจ Insight อย่างลึกซึ้งจนค้นพบว่าความสุขของพี่ๆ วัยเก๋าจะเกิดจาก 3 ปัจจัย คือ สนุก มีคุณค่า และพึ่งพาตัวเองได้ ซึ่ง 3 ปัจจัยนี้ได้กลายเป็นเสาหลักในการออกแบบกิจกรรมและประสบการณ์ทั้งหมดที่ YoungHappy ส่งมอบให้พี่ๆ สมาชิกในทุกๆ วัน คุณนฎากับคุณแก๊พได้ทิ้งทายอีกด้วยว่า อยากทำให้ภาคธุรกิจและภาคสังคมเห็นพลังของ SE ที่จะสามารถร่วมงานกับภาคธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่แพ้บริษัททั่วไปแต่ให้ผลลัพธ์ที่เป็น Double Impact คืนสู่สังคมและอยากเชิญชวนให้คนรุ่นใหม่มองหามิติที่จะช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อสร้างสังคมที่ดีไปด้วยกัน

นอกจากนี้เราได้รับเกียรติจาก คุณวิชัย พูลวรลักษณ์ ประธานบริษัทวรลักษณ์ พร๊อพเพอร์ตี้ และเจ้าของธุรกิจอีกหลายท่านที่มาเก็บความรู้ภายในงาน

บทบาทหน้าที่ของศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต (Trend and Future Concept Research Lab)

เรากำลังอยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และรุนแรงมากกว่ายุคสมัยที่ผ่านๆ มา การพัฒนาของธุรกิจที่เกิดในยุค 4.0 ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีนั้นทำให้รูปแบบการสร้างธุรกิจเปิดกว้าง สร้างสรรค์ และแตกต่างมากกว่าที่เคย เมื่อถอดรหัสการประสบความสำเร็จในโลกยุคนี้พบว่า ทุกธุรกิจล้วนมี Business Model ที่สร้างสรรค์ มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีการออกแบบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมผ่านการเข้าถึงและเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคโดยใช้ข้อมูลสำคัญด้านต่างๆ ในการขับเคลื่อนธุรกิจ 

เพื่อการแข่งขันในโลกยุคใหม่ การออกแบบธุรกิจให้สร้างสรรค์ และโดดเด่นจำเป็นต้องมีข้อมูล ทั้งข้อมูลที่ให้มุมมองแห่งอนาคต และข้อมูลที่เปิดมุมมองให้เข้าใจผู้บริโภคที่ซับซ้อนในยุคสมัยใหม่อย่างลึกซึ้ง ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ Baramizi Lab ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคตทำหน้าที่เป็น “Trend Spotter” จับตา จับแนวโน้ม ทำการวิจัยเทรนด์ที่โดดเด่นและให้โอกาสใหม่ๆ แก่ธุรกิจทั้งภาพกว้างของเมกะเทรนด์ เทรนด์ผู้บริโภค และเทรนด์แบบเจาะลึกลงในอุตสาหกรรม “Future Business Advisor” ให้คำปรึกษาภาคธุรกิจที่ต้องการนำเทรนด์มาต่อยอดสู่อนาคต “Future Insight Researcher” จัดทำการวิจัยเจาะลึกความต้องการที่ซ่อนเร้น (Unmet Need) จากกลุ่มเป้าหมาย เชื่อมโยงโอกาสจากเทรนด์เข้าสู่ความต้องการที่เป็น Local Movement ให้สอดรับกับบริบทของประเทศช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันมุ่งเป้าหมายให้ธุรกิจเติบโต

 

สำหรับข้อมูลเทรนด์(ฉบับย่อ) ท่านสามารถดาวน์โหลดได้

ชุดข้อมูลวิจัยเทรนด์ผู้สูงอายุของThailand Aging Society 2020-21 (ฉบับย่อ) Mini-TrendBook

หากหน่วยงานใดมีความต้องการสร้างโอกาสใหม่ให้กับธุรกิจ ที่ท่านสามารถเลือกจุดประกายให้ทีมทำงานได้ คุณสามารถเลือก Package ได้ตามความต้องการ ดังนี้ 

หมายเหตุ: ราคาข้างต้น เป็นการจัดที่ออฟฟิศลูกค้าในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณนนท์นลิน (ป่าน) 0855469664
Line Official Account : Baramizi_Lab