TREND FAST TRACK: DIGITAL TRANSFORMATION E-Commerce UX Power : พัฒนาธุรกิจ E-Commerce ด้วยการออกแบบประสบการณ์ลูกค้า

Digital Transformation Issue  คือการจับตา Spot แนวโน้มความเคลื่อนไหวที่สำคัญของใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาช่วยพลิกโฉมรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กร ซึ่งกระบวนการนี้เองถูกนำไปใช้ในทุกอุตสาหกรรม และทุกขนาดองค์กรตั้งแต่องค์ขนาดใหญ่ไปจนถึงระดับ Startup เริ่มต้นธุรกิจ และมีทั้งรูปแบบที่เป็นไปเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานของธุรกิจหลัก (Core Business) ขององค์กร บ้างเป็นไปเพื่อการพัฒนาประสบการณ์ (User Experience Development) ล้วนแล้วแต่ช่วยพลิกโฉมและนำพัฒนาธุรกิจให้ก้าวไปอีกขึ้นศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab จึงทำหน้าที่จับตาดูความเคลื่อนไหวเพื่อมองหา Signal หรือสัญญาณที่จะบ่งชี้เทรนด์อันสำคัญอย่างต่อเนื่อง

ธุรกิจ E-commerce ในประเทศไทยถือว่าเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง และกำลังจะกลายเป็นอนาคตและความปกติใหม่ในการจับจ่ายใช้สอย ด้วยมูลค่าตลาดของ E-Commerce ในไทยที่มีมูลค่ากว่า 26,200 ล้านดอลล่าสหรัฐ ประเทศไทยมีพื้นฐานที่สำคัญด้วยโครงข่ายความเร็วอินเตอร์เนตที่เข้มแข็ง การเข้าถึง Internet ของประชากรมีจำนวนมากกว่า 53% และมีตัวเร่งที่สำคัญคือ COVID-19 ที่ช่วยทำให้เกิดการทดลองใช้มากขึ้น ตัวแปรที่สำคัญคือการขยายตัวของการใช้งาน Internet ในเขตชนบท ซึ่งหมายถึงโอกาสเข้าถึงลูกค้าอีกครึ่งประเทศ ตัวเลขทางสถิติที่น่าสนใจอีกอันหนึ่งคือ Penetration Rate ของ E-Commerce ประเทศไทย เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 6-7% ในขณะที่ถ้าเราไปดู Penetration Rate ในประเทศจีนจะอยู่ที่ประมาณ 30% ตัวเลขนี้จึงหมายถึงโอกาสในการเติบโตได้อีกของอุตสาหกรรม E-Commerce ไทย

ส่วนสำคัญหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจ Digital Platform ทุกประเภท ซึ่งรวมถึงธุรกิจ E-commerce คือการพัฒนาประสบการณ์ลูกค้า (User Experience) ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน ลดปัญหาในการใช้งานต่างๆ สร้างความสนุกและความพึงพอใจในการใช้งาน ตลอดจน ช่วยสร้างแรงจูงใจให้ใช้งานแพลทฟอร์มนานขึ้น และใช้จ่ายมากขึ้น เหล่านี้เองจะเป็นส่วนสำคัญหนึ่งให้ธุรกิจ E-Commerce ของไทยในทุกระดับ ให้สามารถมีที่ทางใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนการเติบโตให้กับธุรกิจต่อไป

1. [Australia] Splashup สตาร์ทอัพที่ใช้ A.I. เข้ามาช่วยพัฒนาประสบการณ์การค้นหาสินค้าในธุรกิจ E-Commerce

Splashup ชนะการประกวด Pitching โดย  Commonwealth Bank’s venture-scaling entity, x15ventures. ได้รับคะแนนและเงินสนับสนุนการรายการการแข่งขัน เป็นจำนวนเงิน 150k $ Splashup คือบริษัทสาร์ทอัพด้าน E-Commerce ที่ตั้งเป้าที่จะทำให้กระบวนการช้อปปิ้งง่ายขึ้น และช่วยพัฒนาประสบการณ์การเปรียบเทียบสินค้า เพื่อช่วยทำ ความเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร จุดยืนของสตาร์ทอัพรายนี้คือการเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ E-Commerce เพื่อเสริม Feature : Product discovery experience เข้าไปช่วยให้ลูกค้าสามารถค่อยๆ บอกสเปคของที่ตัวเองต้องการ จนกว่าจะเจอของที่ถูกใจ เช่น การค้นหาชุดเดรสที่คล้ายๆ อันนี้ แต่คัตติ้งคนละแบบ หรือ สินค้าที่กำลังได้รับความนิยมแต่กำลังลดราคา เหล่านี้เอง จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Credit: https://www.startupdaily.net/2021/08/ecommerce-startup-splashup-has-scored-150000-in-backing-from-cbas-x15ventures/

2. [USA] Safilo ผู้นำด้านการจำหน่ายแว่นตา เปิดตัว Carrera แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซใหม่ในรูปแบบ D2C

Safilo ผู้นำระดับโลกด้านการออกแบบ ผลิต และจัดจำหน่ายแว่นตา ของสหรัฐอเมริกา ประกาศเปิดตัว us.carreraworld.com แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซใหม่สำหรับแบรนด์หลักของ Carrera กลยุทธ์ใหม่ตรงสู่ผู้บริโภคสำหรับตลาดสหรัฐฯ นี้เกิดขึ้นพร้อมกับการครบรอบ 65 ปีของแบรนด์ Safilo ในปีนี้ และเป็นวิวัฒนาการต่อไปของเว็บไซต์ของแบรนด์  การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของแผนธุรกิจปี 2020-2024 ของ Safilo บริษัทมองว่าแพลทฟอร์ม Carrera D2C แห่งใหม่ ซึ่งโฟกัสในเรื่องแว่นกันแดดโดยเฉพาะ เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและปรับปรุงตำแหน่งทางการตลาดโดยยกระดับความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้บริโภคและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การลงทุนนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกใกล้ชิดแบรนด์มากขึ้น กลยุทธ์หลักคือการจัดหารูปแบบการจัดหารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีเอกลักษณ์ และสามารถตอบความตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั่วทั้งสหรัฐอเมริกาได้ Carrera ใช้กระบวนการทำงานแบบ Agile เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมี Feature ที่ช่วยตอบโจทย์ลูกค้าอย่าง การ Live, การสั่งตัดแว่นตาตามความต้องการของลูกค้า และระบบ CRM ต่างๆ

3. [Turkey]  Trendyol ได้รับ Decacorn แรกของตุรกี กลายเป็นบริษัทออนไลน์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในตุรกี 

Trendyol ได้กลายเป็นบริษัท Decacorn แรกของตุรกี (บริษัทที่มีมูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) หลังจากระดมทุน 1.5 พันล้านดอลลาร์ในกองทุนใหม่ จนทำให้บริษัทมีมูลค่า 16,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ Trendyol กลายเป็นบริษัทออนไลน์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในตุรกี  ซึ่งการออกแบบประสบการณ์ที่น่าสนใจประกอบด้วย Trendyol Express โซลูชันการจัดส่ง Trendyol Go ร้านขายของชำและจัดส่งอาหารทันทีผ่านเครือข่ายจัดส่ง  Dolap ผู้บริโภคมือสองชั้นนำของตุรกีไปยังแพลตฟอร์มผู้บริโภคและอื่น ๆ  และ  Trendyol Wallet กระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของ Trendyol เลยก็ว่าได้ จุดประสงค์หลักคือต้องการลดปัญหาที่เกิดจาก Transaction ที่หนาแน่นในช่วงเทศกาลโปรโมชั่นต่างๆ โดยสร้างทางเลือกในกาารชำระเงินขึ้นมาใหม่ในรูปแบบ Wallet ลดการพึ่งพิงระบบของธนาคาร Trendyol Wallet ทำให้ระบบสามารถ Check Out ได้เร็วกว่าระบบธนาคารปกติ ทำให้ระบบ Order เร็วขึ้น และเอื้อให้บริษัทสามารถทำระบบ Loyalty Program ได้สะดวกขึ้น

 

#FutureResearch  #ResearchForBusiness #FutureTrendResearch  #Trend #WisdomDriveTheFuture #Covidmosphere  #Insight #UnmetNeed #BaramiziLab

ที่มา :

https://welcome.splashup.co/

https://finance.yahoo.com/news/safilo-takes-another-step-towards-174800946.html?guccounter=1

https://medium.com/trendyol-tech/agile-planning-trendyol-wallet-project-92df54cb4b5

https://www.trendyol.co