TREND FAST TRACK : PROPERTY TREND UTOPIA LIVING Trend เทรนด์การปรับตัวการอยู่อาศัยในรูปแบบอนาคต

เคยสงสัยกันไหมครับว่า การใช้ชีวิตในโลกยุคปัจจุบันและในอนาคต ที่มีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบตัวต่างๆ อยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ โรคระบาด สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ หากสิ่งต่างๆ เหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เราจะต้องมีชีวิตอยู่กับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างไรได้บ้าง เราคงจะนึกไม่ออกกันแน่ๆ ว่าถ้าสิ่งเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แล้วสิ่งเหล่านั้นสามารถที่จะสร้างความอันตรายต่อการใช้ชีวิตหรือไม่ แล้วถ้าใช่ เราจะต้องมีชีวิตหรือปรับตัวกันอย่างไร

สำหรับ Trend Fast Track ในสัปดาห์นี้เราทำการรวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ทำให้พบประเด็นที่โลกให้ความสนใจไปติดตามกันเลยครับ

เราเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะพบกับปัญหาต่างๆ ของการอยู่อาศัยในช่วงการเปลี่ยนแปลงต่างๆของโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็น มลพิษ สภาวะโลกร้อน ปัญหาเชื้อโรคและการแผร่ระบาด ภัยธรรมชาติ ความคับแคบแออัดของพื้นที่อาศัย เป็นต้น ซึ่งยังไงก็แล้วแต่เราก็ยังคงต้องใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งเหล่านี้ต่อไป แต่เราจำเป็นต้องมีมุมมองการใช้ชีวิตที่ พัฒนา อนุรักษ์ อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อม เราจึงต้องปรับตัวเพื่อที่จะอยู่กับมันให้ได้ ในเมื่อเราจำเป็นที่จะต้องอยู่กับสิ่งต่างๆ เหล่านั้นแล้ว รูปแบบการใช้ชีวิตของเราในสังคมที่เราต้องปรับตัวอย่างไร วันนี้เรามีวิธีการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ในอนาคตที่จะทำให้เราได้อยู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน และลดการทำลาย ทั้งยังลดการก่อให้เกิดขยะของสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งวันนี้เราสามารถแบ่งหัวข้อได้ตามนี้

1. ECO Utopia

2. Covidmosphere

3. Blend Utopia

———————————-

1. ECO Utopia คือรูปแบบการใช้ชีวิตแบบ ECO Utopia การใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ ลดการเกิดขยะและทำลายธรรมชาติ เพื่อใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน

[Czech] Dvele’s Modern Designs Can Be Customized to Suit Individual Needs

Dvele บริษัท ออกแบบบ้านสไตล์หรูหราที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างบ้านสำเร็จรูป ซึ่งใช้วิธีสร้างอาคารแบบสีเขียว มีประสิทธิภาพและมอบประสบการณ์สุขภาพที่ดี บริษัท Dvele ได้ออกแบบภายในบ้านและใช้แปลนพื้นฐานที่คล้ายๆ กัน ทำให้สามารถลดปริมาณขยะจากการก่อสร้าง และส่วนเกินของวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ อีกทั้งยังมีความทนทาน และระวังถึงการรั่วซึมของน้ำเพื่อลดการซ่อมแซม

และยังมีทางเลือกสำหรับโครงสร้างแบบพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งรวมถึงแผงควบคุมและที่เก็บแบตเตอรี่เพื่อให้สามารถใช้แหล่งพลังงานเชิงนิเวศได้ทันที

Credit: https://www.trendhunter.com/trends/dvele1

 

[Slovakia] Ecocapsule บ้านแคปซูลรักษ์โลก ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ลม กรองน้ำจากน้ำฝนลำธารทะเลสาบ

Ecocapsule เป็นผลงานการออกแบบของ Nice Architects บริษัทนักออกแบบสถาปัตยกรรม ในประเทศสโลวาเกีย ]ซึ่งผลงานชิ้นนี้ได้รับการตอบรับอย่างดี และหลายปีต่อมา โปรเจกต์ Ecocapsule ถูกแปลงจากผลงานออกแบบมาเป็นบ้านแคปซูลอย่างสมบูรณ์ในปี 2014

บ้านแคปซูลพลังงานธรรมชาติ ใช้แหล่งพลังงานจากแบตเตอรี่ 9.7 กิโลวัตต์  ซึ่งหากใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว ก็เพียงพอสำหรับใช้ชีวิตราว 4 วัน แต่แบตเตอรี่สามารถชาร์จได้ด้วยพลังงานลมจากกังหันลม 750 วัตต์ และพลังงานแสงอาทิตย์  จากแผงโซลาร์เซลล์ 880 วัตต์ ถ้าหากใครอยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าแบบปกติ ก็มีระบบเชื่อมต่อไฟบ้านเช่นกัน นอกจากระบบไฟฟ้าพลังงานธรรมชาติ ภายในบ้านยังมีระบบกักเก็บน้ำที่สามารถกรองน้ำจากน้ำฝน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร ได้อีกด้วย

Credit: https://www.ecocapsule.sk/?fbclid=IwAR29Mre6oSNTKaS6Y3vqE84z08WoMwtrnPRdkaoC0HefGYh2hOUxzgz1nY8

 

‘Haus.me’ บ้าน 3D Printing แนวใหม่ อึด ถึก ทน รักษ์โลก

ปัจจุบันเทคโนโลยีพิมพ์บ้านสามมิติ หรือ 3D Printing เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อวงการสร้างบ้าน โดยเฉพาะต่างประเทศ ผู้คนสนใจการสร้างบ้านแบบนี้มากขึ้น เพราะประหยัดเวลาการก่อสร้าง ติดตั้งง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้หรือทักษะพิเศษในการสร้างบ้าน และยังแข็งแรงไม่ต่างจากการสร้างบ้านแบบดั้งเดิม อย่าง Haus.me บ้าน 3D Smart home ที่ผลิตโดยวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ และโพลิเมอร์ซึ่งเคลมว่า เป็น ‘Zombie Proof’ แข็งแรง ปลอดภัย แม้เจอซอมบี้บุก

Credit: https://haus.me/?fbclid=IwAR2jSwpqoX6pMekuKY3jBI6uq7QJknZIPQWzJw9qlDcaalHCM-Z2nv7qA3g

2. Covidmosphere การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงของการใช้ชีวิตจากการแพร่ระบาดของโรค

[Hungary] hello wood’s ‘workstation cabin’ offers a secluded, work-from-home module

COVID-19 เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้แรงบันดาลใจความฝันของใครหลายๆคนที่อยากมีห้องทำงานส่วนตัวหรือมีพื้นที่ทำงานที่บ้านที่สบาย เงียบสงบ มีความเป็นสันโดษ เพื่อส่งเสริมการเกิดความคิดสร้างสรรค์ Hello Wood สตูดิโอจากประเทศฮังการีได้ออกแบบ ‘workstation cabin’ กระท่อมขนาดเล็กที่ออกแบบมาสำหรับใช้ทำงานในพื้นที่ที่เงียบสงบ เป้นส่วนตัว โดยสิ่งนี้จะทำให้ไม่ต้องเสียงบประมาณในการขยายบ้าน รวมถึงมีความยืดหยุ่นสูง สามารถติดตั้งที่ใดก็ได้ หรือปรับเปลี่ยนตามรูปแบบการใช้งานได้ตามความเหมาะสม เช่น เป้นห้องนั่งเล่น ห้องนอน หรือห้องรับแขก เป็นต้น ‘workstation cabin’ เป็นการออกแบบให้มีรูปทรงเรขาคณิตที่ซับซ้อน ภายในตกแต่งด้วยไม้สนธรรมชาติ มีหน้าต่างขนาดใหญ่ที่ทำให้รู้สึกเหมือนอยู่ในสวนตลอดเวลา

Credit: https://www.designboom.com/architecture/hello-woods-workstation-cabin-budapest-hungary-home-office-06-18-2020/

[Mexico] a chaotic cluster of vibrant dwellings makes up the newly imagined sonora art village

บ้านโซโนรา จาก moscow-based architecture การออกแบบร่วมกันของ davit and mary jilavyan ออกแบบเพื่อจัดระเบียบหมู่บ้านศิลปะโซโนราที่ออกแบบมาอย่างสนุกสนาน ด้วยแนวคิดที่จินตนาการใหม่โดยใช้สีสันที่สดใส และเข้ากับบริบททะเลทรายของเม็กซิโก ออกแบบโดยใช้รูปทรงเรขาคณิตที่เล็กที่สุด และการตกแต่งที่เรียบหรู ทำให้นึกถึงบ้านโซโนราที่เคยจินตนาการไว้ ทีมงานออกแบบได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างหมู่บ้านแบบครบวงจรในช่วงยุคการอยู่อาศัยที่เกิดจากการระบาดใหญ่ และความคิดเห็นที่สองโลกมีการเปลี่ยนแปลงมากมายในเวลานี้ แต่น่าเสียดายที่การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างไม่ใช่เรื่องที่ดี ปีนี้เราทำงานกันหนักมาก นั่งแยกตัวเองล้อมรอบด้วยสี่กำแพงทำให้นักออกแบบเกิดความคิดในการสร้างหมู่บ้านทั้งหลังจากบ้านอย่างบ้านโซโนรา

หมู่บ้านสร้างพื้นที่ที่มีสีสันซึ่งเชิญชวนให้หลบหนีจากความเป็นจริง พยายามเสนอสถาปัตยกรรมที่มีทั้งเรื่องของกาลเวลา และความแปลกประหลาด ใช้สไตล์ที่ใกล้เคียงกับการ์ตูน โดยใช้แนวคิดที่หมู่บ้านเป็นสถานที่ปลอดจากความอคติ ไม่มีการเหยียดเชื้อชาติ, การดูถูกผู้หญิง, การดูถูกเหยียดหยาม เพื่อสร้างบรรยากาศที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง และปลดปล่อยความยินดี, ความรัก, และความสุข

Credit: https://www.designboom.com/architecture/sonora-art-village-davit-mary-jilavyan-mexico-06-22-2020/

 

3. Blend Utopia คือ Blend Utopia คือการใชัชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และอยู่กับธรรมชาติอย่างไร้รอยต่อ อีกทั้งยังส่งเสริมซึ่งกันและกัน

[Italy] alfredo vanotti preserves and renovates farm building in italy to create ‘ca’ giovanni’

สำหรับหลายคนหรือหลายครอบครัว อาคาร สิ่งของ หรือบางสิ่งบางอย่างที่เก่าแก่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมีชีวิตเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นจริงๆ สถาปนิกชาวอิตาลี alfredo vanott จึงเกิดแนวคิดทำการอนุรักษ์และปรับปรุงโครงสร้างฟาร์มเก่าที่มาอายุเก่าแก่ตั้งแต่ต้นปี 1900 ซึ่งถือว่าเป็นอาคารฟาร์มที่มีคุณค่าทางอารมณ์เป็นอย่างมาก โดยได้ทำการรีโนเวตอาคารใหม่เพื่อคืนชีวิตให้กับวัดุในอดีต เก็บโครงสร้างเสา เพดานหิน และคอนกรีตแบบดั้งเดิมไว้ ส่วนที่เปิดโล่งได้มีการติดตั้งกรอบไม้ นอกจากนี้เขาได้ทำงานร่วมกับช่างฝีมือท้องถิ่นเพื่อออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ทำขึ้นเอง รวมถึงเก้าอี้ตู้เสื้อผ้าและโคมไฟระย้าได้รับการบูรณะนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง

Credit: https://www.designboom.com/architecture/alfredo-vanotti-farm-building-italy-ca-giovanni-06-21-2020/

[China] stefano boeri architetti วางแผนเมืองป่าแนวตั้งสำหรับฮวงกังประเทศจีน

สำนักงานเซี่ยงไฮ้ของ stefano boeri architetti ได้ออกแบบการพัฒนาเมือง 4.54 เฮกตาร์สำหรับเมืองหวงกังในมณฑลหูเป่ยของจีน ชื่อเรื่อง ‘easyhome huanggang city city complex’ โครงการนี้ประกอบด้วยอาคารห้าหลังอาคารสองแห่งเป็นที่อยู่อาศัยและได้รับการออกแบบเป็นป่าแนวตั้ง‘ – แบบจำลองของ stefano boeri สำหรับอาคารที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืน โครงการได้รับการออกแบบเป็นการพัฒนาสีเขียวใหม่ที่สามารถรวมอาคารสำหรับที่อยู่อาศัยโรงแรมและพื้นที่เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ คอมเพล็กซ์แห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ล้อมรอบด้วยถนนสามสายและแต่ละพื้นที่ทำงานที่แตกต่างกันเชื่อมต่อกับพื้นที่สาธารณะแบบเปิด

ครงการนี้ได้รับการออกแบบโดย stefano boeri architetti ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวที่เป็นนวัตกรรมสำหรับเมืองโครงการนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการประจำวันของผู้อยู่อาศัยรวมถึงแขกชั่วคราวและนักท่องเที่ยว สถาปนิกกล่าวว่าอาคารพักอาศัยทั้งสองแห่งเป็นป่าแนวตั้งแบบใหม่ที่มีองค์ประกอบคานเท้าแขนที่ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวไปยังส่วนหน้าของต้นไม้ที่เต็มไปด้วยต้นไม้ การจัดเรียงที่ผิดปกติของระเบียงยังช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างอิสระทำให้ใบไม้กลายเป็นส่วนหนึ่งของส่วนหน้าของอาคาร

Credit: https://www.designboom.com/architecture/stefano-boeri-vertical-forest-city-huanggang-china-06-03-2020/

[China] สถาปนิกจีนออกแบบบ้านบนทางลาดชัน ด้วยการย้ายพื้นที่สวนขึ้นไปบนดาดฟ้า

บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาใกล้กับกำแพงใหญ่ทางตอนเหนือของปักกิ่งสตูดิโอ MDDM ได้เปลี่ยนอาคารเก็บผลไม้ใต้ดินเก่าให้กลายเป็นที่อยู่อาศัย สร้างขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ผ่านมาโครงสร้างที่มีอยู่ทำจากหินธรรมชาติและประกอบด้วยปริมาณเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สถาปนิกได้ออกแบบอาคารใหม่เป็นส่วนเสริมของบ้านลูกค้าทางด้านทิศใต้ของสถานที่ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น ซึ่งบ้านหลังนี้ถูกตั้งอยู่บนพื้นที่ทางลาดชัน แต่เจ้าของบ้านก็ยังอยากใช้งานพื้นที่สนามหญ้าแบบเรียบๆ สถาปนิกจึงได้ออกแบบโดยย้ายพื้นที่สนามหญ้าขึ้นไปบนหลังคา ก็ทำให้ตัวบ้านนั้นดูเก๋ และสามารถใช้งาน Space ของสนามหญ้าได้จริง

หลังคาใหม่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มแสงธรรมชาติให้เข้ากับบ้านมากที่สุดโดยแทนที่โครงสร้างเดิมด้วยแผ่นคอนกรีตสองแผ่นซึ่งแยกออกจากผนังหินและตั้งที่ความสูงต่างกันสองระดับ การออกแบบนี้สามารถมอบให้บ้านดูทันสมัยแตกต่างจากบ้านใกล้เคียง แต่รวมเข้ากับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ในความเป็นจริงหลังคาดูเหมือนสวนสองแห่งที่ลอยอยู่เหนือกันและกันอย่างสมดุลด้วยกำแพงหินด้านล่างเช่นเดียวกับภูมิประเทศที่ลาดชันที่ล้อมรอบพล็อต ความสูงของหลังคาที่แตกต่างกันสร้างช่องว่างระหว่างกันซึ่งช่วยให้แสงธรรมชาติส่องผ่านบริเวณกลางอาคารได้มากขึ้นในขณะที่ปรับปรุงการระบายอากาศตามธรรมชาติในช่วงฤดูร้อน

Credit: https://www.designboom.com/architecture/mddm-studio-house-great-wall-beijing-overlapping-green-roofs-06-09-2020/

การเปลี่ยนแปลงของการอยู่อาศัยในอนาคต เป็นสิ่งที่ยังคงเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นสำหรับเราในตอนนี้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงการอยู่อาศัยด้วยการลดการสร้างมลพิษและสภาวะโลกร้อน การอยู่อาศัยแบบโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน หรือจะเป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตที่อยู่อาศัยในช่วงโรคระบาด กับการสร้างที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวอยู่ได้ รวมถึงการอยู่อาศัยให้กลมกลืนกับธรรมชาติและยังพัฒนาส่งเสริมความเป็นธรรมชาติต่อไป ซึ่งการอยู่อาศัยที่กล่าวมานี้เป็นการอยู่อาศัยที่เกื้อกูลกับธรรมชาติมากขึ้น เพื่อให้มีโลกสีเขียวในอนาคตที่เพิ่มมากขึ้น

🔥 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน  🔥 โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต เราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launch ออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์

#FutureLabResearch #ResearchForBusiness #FutureTrendResearch#TrendFastTrack2020 #WisdomDrivetheFuture